Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

เกี่ยวกับเรา

พิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา “พิพิธภัณฑ์แห่งพุทธปัญญา”
พิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา “พิพิธภัณฑ์แห่งพุทธปัญญา”
พิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา “พิพิธภัณฑ์แห่งพุทธปัญญา”
Previous slide
Next slide

ประวัติความเป็นมา

ประวัติพิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา

พิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2559 ตั้งอยู่เลขที่ 41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โดยได้รับความเมตตานุเคราะห์จาก หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์ฯ

เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์หลักและปณิธานตลอดถึงความตั้งใจ ในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ นั่นคือ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในการทำนุบำรุงและจรรโลงพระพุทธศาสนา ให้อยู่ยั่งยืนตราบนานเท่านาน

พิพิธภัณฑ์ฯ ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2562 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงพระเมตตาเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดดังกล่าว

พิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและบริหารงานโดย “มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต”

ดาวน์โหลด

คู่มือแนะนำพิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา

ประวัติมูลนิธิ

ประวัติมูลนิธิธรรมทานกุศลจิต

มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยครอบครัว “ปิลันธน์โอวาท” มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำสื่อต่างๆ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และเผยแผ่ความรู้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมเผยแผ่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธรรมะบรรยาย, ธรรมนิพนธ์ของพระบูพาจารย์ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติเป็นหลัก โดยได้จัดทำเว็บไซต์ชื่อ thammapedia.com, ได้คัดเลือกหนังสือธรรมะที่ทรงคุณค่าทางพระพุทธศาสนา, ได้รวบรวมพระไตรปิฎก ธรรมะบรรยาย ธรรมนิพนธ์ บรรจุเนื้อหาจัดทำเป็นแผ่นดีวีดี และได้นำหนังสือและแผ่นดีวีดีดังกล่าวมาบรรจุไว้ในกระเป๋ารวมเป็นชุด เรียกว่า “กระเป๋าหนังสือธรรมะของมูลนิธิธรรมทานกุศลจิต” ซึ่งตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทางมูลนิธิฯ ได้ถวายชุดกระเป๋าหนังสือธรรมะดังกล่าวแก่พระสงฆ์ในโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง, พระสงฆ์ในโครงการอบรมพระธรรมทูตภายในประเทศ, โครงการอบรมครูแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมถึงการมอบชุดกระเป๋าหนังสือดังกล่าวให้แก่นิสิตนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมถึงพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปที่สนใจในโอกาสงานบุญกุศลต่างๆ

หลังจากคณะผู้บริหารมูลนิธิฯ ได้ใช้เวลาในการศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากธรรมนิพนธ์ พระธรรมเทศนาของครูบาอาจารย์ผู้เป็นพระบูรพาจารย์ทั้งทางด้านปริยัติทั้งด้านปฏิบัติมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี จึงได้มีความประสงค์และตั้งมั่นในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวบรวมความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายที่จะให้เป็น “พิพิธภัณฑ์แห่งพุทธปัญญา”  คณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงได้มีมติและตัดสินใจใช้อาคารแห่งนี้ซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ที่ได้ซื้อไว้เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาดำเนินการปรับปรุงและตกแต่งพื้นที่ให้มีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา ในปี พ.ศ.2559  โดยการปรับปรุงชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคาร ซึ่งมีเนื้อที่รวมประมาณ 2,000 ตารางเมตร ได้แบ่งเป็นห้องมินิเธียเตอร์และแบ่งเป็นโซนสำหรับจัดแสดงเนื้อหาทั้งหมด 12 โซนหลัก ปัจจุบันยังได้ใช้พื้นที่อาคารชั้น 4 เพิ่มเป็นโซนพิเศษ และเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ฯ สำหรับใช้เป็นสถานที่ในจัดกิจกรรมในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น อบรมสัมมนา รวมถึงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาเทคโนโลยีในปัจจุบันมาผสมผสานเข้ากับการเผยแผ่เนื้อหาทั้งหมดที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ฯ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์แท็บเล็ต ซึ่งรองรับทั้งระบบ iOS (App Store) และระบบ Android (Google Play) นับว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยมุ่งหวังให้พระภิกษุ-สามเณร นิสิต นักศึกษา นักวิชาการด้านพุทธศาสตร์ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งใดในโลกนี้ แม้จะไม่สามารถเดินทางมาชมที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ ก็ยังสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ได้จากทั่วทุกแห่งบนโลก ผ่านแอพพลิเคชั่นดังกล่าว

ประวัติมูลนิธิมูลนิธิธรรมทานกุศลจิตและพิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา

รายชื่อผู้บริหาร

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post