Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
โซนที่ ๙

ประวัติมหายาน

โซนที่ ๙

ประวัติมหายาน

โซนที่ ๙

ประวัติมหายาน

พุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน


สำหรับเนื้อหาในโซน 9 ในส่วนที่เป็นพระพุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน ได้คัดย่อเนื้อหามาจาก หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

 

วิหารพระโพธิสัตว์และพุทธศาสนานิกายมหายาน

พุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดียเนปาลจีนญี่ปุ่นเกาหลีเวียดนามมองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกายปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน

มหายาน (สันสกฤตमहायानอักษรจีน: 大乘; ญี่ปุ่น: 大乗; เวียดนาม: Đại Thừa; เกาหลี: 대승) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต มหา + ยาน แปลว่า พาหนะที่ใหญ่ เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า หีนยาน ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า “ยานที่สูงสุด” ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระนิพพาน และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุนะ ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง และชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย” อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่สาวกภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยาน หรือ พุทธยาน

สรุปแล้ว ยานในพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 3 คือ (ตามมติของฝ่ายมหายาน)

  1. สาวกยาน (เซียบุ่งเส็ง) คือยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
  2. 2.   ปัจเจกยาน (ตกกักเส็ง) คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
  3. โพธิสัตวยาน (พู่สักเส็ง)คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ  ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า 2 ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนย์ตาธรรม

 

พัฒนาการของพุทธศาสนานิกายมหายาน

มูลเหตุของการแยกนิกายในพุทธศาสนา

หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี

ในกาลต่อมาต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เกิดการสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด อย่างไรก็ตาม การสังคายนาแต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดในหมู่สงฆ์ จนก่อให้เกิดการแยกฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันในส่วนหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ

กล่าวกันว่า มูลเหตุของการแยกนิกายในพุทธศาสนามาจากในคราวใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) พุทธดำรัสดังกล่าวไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดมีปัญหาในการตีความว่า สิกขาบทไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับการสังคายนาครั้งหลังๆ อีกหลายครั้ง เป็นเหตุให้มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย แต่ก็มิได้ถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด

 

การก่อตัวของพุทธศาสนานิกายมหายาน

หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 100 ปี อันเป็นช่วงเวลาที่มีการสังคายนาครั้งที่ 2 ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหาสังฆิกะ ซึ่งมีจำนวนมาก ได้แยกตนออกไปต่างหากจากกลุ่มเถรวาทเดิม การแยกตัวของมหาสังฆิกะนี้มีมูลเหตุจากความเห็นที่แตกต่างเรื่องหลักปฏิบัติของภิกษุ หลังจากนั้นมหาสังฆิกะได้แยกกลุ่มนิกายย่อยออกไปอีก 18 นิกาย เนื่องจากมีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นภิกษุบางรูปในนิกายทั้ง 18 นี้ ได้แยกตนออกมาตั้งคณะใหม่โดยถือปรัชญาและหลักจริยวัตรของตน กระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 5 จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เรียกตนเองว่า "มหายาน" ขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าพัฒนาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง 18 นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดเป็นลัทธิมหายาน

แม้ไม่อาจกำหนดให้แน่ชัดลงไปได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัดคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ  ทางอินเดียตอนเหนือ (ศตวรรษที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานอย่างมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชของฝ่ายเถรวาท

 

คณาจารย์คนสำคัญของนิกายมหายาน

พระอัศวโฆษ
         พระเถระอัศวโฆษ เป็นชาวเมืองสาเกต นิกายสรวาสติวาท เป็นจินตกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ท่านได้แต่งหนังสือเรื่อง "พุทธจริต" เป็นการพรรณนาถึงพุทธประวัติ

พระนาคารชุน 
         พระนาคารชุนมีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 7 ท่านเกิดในวรรณพราหมณ์ในอินเดียตอนใต้ มีความรอบรู้ทั้งเถรวาท และมหายาน เป็นอย่างดี พระนาคารชุนได้แต่งหนังสือเด่นมาก คือ "ปรัชญาปารมิตาสูตร"

 

แนวคิดเรื่องตรีกายของนิกายมหายาน

หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เหล่าสาวกเริ่มคิดถึงความเป็นอัจฉริยะของพระองค์มากยิ่งขึ้น ตามทัศนะของสาวกยานิกชน พระพุทธเจ้าเป็นอภิบุคคล ผู้ได้บรรลุความสมบูรณ์แห่งปัญญาในชีวิตนี้ เพราะอำนาจความเจริญทางจิตใจ และบุญกรรมที่ได้สั่งสมมาแต่อดีตชาติ ความเคารพอันลึกซึ้งที่เหล่าสานุศิษย์ของพระองค์มีอยู่ ทำให้ไม่พอใจด้วยความเป็นมนุษย์ธรรมสามัญของพระบรมครูของตน จึงพยายามสร้างสรรค์ให้พระองค์เป็นสิ่งที่เหนือกว่าวิญาณอมตะ ถึงคัมภีร์บาลีก็ได้กล่าวถึงชีวิตอันสูงล้ำสำหรับพระพุทธเจ้า นอกเหนือไป จากชีวิตโลกีย์อีกด้วย    เพราะความคิดว่า พระพุทธเจ้ามีสภาพสูงล้ำเหนือชีวิตโลกีย์  จึงทำให้ ปราชญ์ฝ่ายมหายานอธิบายถึงพระพุทธเจ้าใน 3 วิธีตามหลักที่เรียกว่าหลักตรีกาย

ลักการสำคัญประการหนึ่งของมหายานอยู่ที่หลักเรื่อง ตรีกาย อันหมายถึงพระกายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า ในกายตรัยสูตรของมหายาน พระอานนท์ทูลถามถึงเรื่องพระกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ตถาคตมีกายเป็น 3 สภาวะคือตรีกาย อันได้แก่

  • นิรมาณกาย หมายถึง กายที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพของสังขารในฐานะที่เป็นมนุษย์ พระศากยมุนีผู้ท่องเที่ยวอยู่บนโลก สั่งสอนธรรมแก่สาวกของพระองค์ และดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา
  • สัมโภคกาย หมายถึง กายอันมีส่วนแห่งความรื่นเริงในฐานะเป็นพุทธอุดมคติผู้สั่งสอนแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย   ซึ่งเป็นกายของพระพุทธองค์อันสำแดงปรากฏให้เห็นเฉพาะหมู่ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ เป็นทิพย-ภาวะมีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป  เพราะฉะนั้น แม้จนกระทั่งบัดนี้ พระโพธิสัตว์ก็ยังอาจจะเห็นพระศากยมุนีพุทธเจ้าได้ในรูปสัมโภคกาย พระพุทธองค์ยังทรงอาจสดับคำสวดมนต์ของเรา แม้พระองค์จะดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ดี  ทั้งนี้ก็ด้วยการดับขันธปรินิพพานนั้นเป็นเพียงการสำแดงให้เห็นปรากฏในรูปนิรมานกายเท่านั้น
  • ธรรมกาย หมายถึง หมายถึง กายอันไร้รูปร่างอยู่ในสภาวธรรม กายอันเกิดจากธรรม ในฐานะเป็นสภาพสูงสุด หลักแห่งความรู้  ความกรุณา และความสมบูรณ์   ธรรมกาย ตามนัยแห่งเถรวาทหมายถึงพระคุณทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า อันได้แก่ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ

 

จุดมุ่งหมายของนิกายมหายาน

หลักสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือหลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแต่ละนิกายยอมรับนับถือ มหายานทุกนิกายย่อมมุ่งหมายโพธิสัตวภูมิ ซึ่งเป็นเหตุที่ให้บรรลุพุทธภูมิ บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มาก่อน เพราะฉะนั้น จึงถือว่าโพธิสัตวภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล เมื่อบรรลุพุทธภูมิเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมโปรดสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นได้กว้างขวาง และขณะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ยังสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในสังสารวัฏได้มากมาย อุดมคติอันเป็นจุดหมายสูงสุดของมหายานจึงอยู่ที่การบำเพ็ญบารมีตามแนวทางพระโพธิสัตว์ เพื่อนำพาสรรพสัตว์สู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารให้หมดสิ้น

 

หลักแห่งโพธิสัตวยาน

โพธิสัตวยาน (พู่สักเส็ง)  คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ  ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวาง และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม  หลักพระโพธิสัตวยานนั้น ถือว่าจะต้องบำเพ็ญ ทศปารมิตาหรือทศบารมีให้สมบูรณืจึงจะบรรลุการตรัสรู้ได้

 

ทศ ปารมิตา.คือ บารมี 10  ได้แก่

  • ทานปารมิตา หรือ ทานบารมี
  • ศีลปารมิตา หรือ ศีลบารมี
  • กฺษานฺติปารมิตา หรือ ขันติบารมี
  • วีรฺยปารมิตา หรือ วิริยบารมี
  • ธฺยานปารมิตา หรือ ฌานบารมี
  • ปฺรชฺญาปารมิตา หรือ ปัญญาบารมี
  • อุปายปารมิตา หรืออุบายบารมี
  • ปฺรณิธานปารมิตา หรือประณิธานบารมี
  • พลปารมิตา หรือ พลบารมี
  • ชฺญานปารมิตา หรือ ญาณบารมี

 

พระโพธิสัตว์ย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติ 3  ประการ  

  1. มหาปรัชญา(ไต่ตี่) หรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่า  จะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งสัจธรรมไม่ตกเป็นทาสของกิเลส การบวชก็เพื่อเอาชนะกิเลสที่มีอยู่ในตนให้ได้ด้วยความเพียรและปัญญาเป็นการสร้างอัตตัตถประโยชน์คือประโยชน์เพื่อตนเองให้ถึงพร้อม
  2. มหากรุณา(ไต่ปุย) หมายความว่า จะต้องเป็นผู้มีจิตใจกรุณาต่อสรรพสัตว์ปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยเหลือสัตว์ให้พ้นทุกข์ ข้อนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของภิกษุสามเณร ที่จะอนุเคราะห์ผู้อื่นมีบิดามารดาเป็นต้น จัดเป็นปรัตถประโยชน์ คือบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น
  3. มหาอุปาย(ไต่ฮวงเปี๋ยง)  หมายความว่า  พระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม ข้อนี้ก็เป็นการบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

 

มหาปณิธาน 4 ของนิกายมหายาน

นอกจากดังที่กล่าวมาแล้ว พระโพธิสัตว์ยังต้องมีมหาปณิธานอีก 4 ซึ่งถือเป็นหลักการของผู้ดำเนินตามวิถีมหายาน ดังนี้

  1. เราจะละกิเลสทั้งปวงให้สิ้น - เราจะกำจัดให้หมดสิ้น  เราจะต้องละทิ้งทำลายให้หมด  และปรารถนาที่จะให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสเหล่านั้นด้วย  ข้อนี้เทียบด้วยข้อสมุทัยคือตัณหาซึ่งเราจะต้องละ  จะเจริญไม่ได้  ข้างฝ่ายมหายานถือว่า นอกจากตัวเราจะทำลายกิเลสของเราเองแล้ว จึงต้องช่วยแนะนำให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสของเขาด้วย
  2. เราจะศึกษาพระธรรมให้เจนจบ - ธรรมทั้งหลายอันไม่มีประมาณ เราจะต้องศึกษาให้เจนจบ  เราจักต้องเรียนรู้และทำความศึกษาปฏิบัติ  เทียบด้วยมรรคสัจซึ่งต้องเจริญให้มีขึ้น  เราจึงจะกำหนดรู้ทุกข์และสมุทัยได้ และจะต้องยังสรรสัตว์ให้ศึกษาในพระธรรมด้วย
  3. เราจะโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ - สรรพสัตว์ทั้งหลายอันประมาณมิได้           เราจักโปรดให้หมดสิ้น  เราจะต้องปลดเปลื้องสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์  ข้อนี้เทียบด้วยอริยสัจ 4 ในข้อทุกขสัจ  ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำหนดรู้ คือเมื่อเรารู้ว่าเราทุกข์ เราก็ย่อมแจ้งให้คนอื่น ๆ ทราบว่า  เขาก็มีทุกข์เช่นเดียวกัน   แต่พระโพธิสัตว์จะต้องปรารถนาความพ้นทุกข์แห่งสรรพสัตว์อีกด้วย
  4. เราจะต้องบรรลุพุทธภูมิอันประเสริฐ - พุทธมรรคอันประเสริฐ  เราจะต้องบรรลุให้จงได้ เทียบด้วยทำนิโรธสัจให้แจ้ง และจะต้องยังสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงด้วย  

เพราะฉะนั้น ตามปณิธานทั้ง 4 นี้  เมื่อเทียบกับหลักอริยสัจแล้วจะเห็นว่า  ฝ่ายมหายานต้องการจะปลดเปลื้องสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์

ปณิธานฯ ของผู้สมาทานโพธิสัตว์ศีล

ผู้สมาทานโพธิสัตว์ศีลต้องเป็นผู้ศรัทธามั่นคงในองค์ 4 คือ พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์ และศีล    จากนั้นต้องตั้งประณิธาน 10 ประการ พร้อมกับมหาปณิธาน 4 รวม  14 ข้อ  คือ

  1. ระลึกถึงพุทธานุสติเสมอและหมั่นเข้าใกล้กัลยาณมิตร
  2. หลีกไกลจากมิตรชั่ว
  3. ไม่ละเมิดศีลแม้ต้องสิ้นชีวิต             
  4. ศึกษาท่องบ่นพระสูตรพระวินัยมหายานเสมอและซักถามข้อสงสัย
  5. ศรัทธาในอนุตรสัมมาสัมโพธิญานเสมอ
  6. หากพบเห็นสรรพสัตว์รับทุกข์ทรมานต้องช่วยเหลือเสมอ
  7. ถวายบูชาพระรัตนตรัยตามกำลังสามารถเสมอ
  8. กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา,ครูอุปัชฌาย์อาจารย์
  9. ละทิ้งความเบื่อหน่ายและเกียจคร้าน ขยันหมั่นศึกษาพุทธธรรม
  10. เมื่อเกิดกิเลสจากวิสัย 5 หรือที่ตั้งแห่งอารมณ์ทั้ง 5 คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส  สามารถข่มจิตใจลงได้
  11. สรรพสัตว์ทั้งหลายอันประมาณมิได้           เราจักโปรดให้หมดสิ้น
  12. กิเลสทั้งหลายที่ไม่สงบระงับ         เราจะกำจัดให้หมดสิ้น 
  13. ธรรมทั้งหลายอันไม่มีประมาณ เราจะต้องศึกษาให้เจนจบ 
  14. พุทธมรรคอันประเสริฐ  เราจะต้องบรรลุให้จงได้

พระยูไลพุทธเจ้าหรือพระอมิตาพุทธเจ้า ก็คือพระพุทธเจ้า

พระยูไลทั้งสามองค์ที่โปรดสัตว์หลังกึ่งกลางยุคพุทธกาล 

กึ่งกลางพุทธกาล เบื้องบนจะส่งพระยูไลลงมาชุดละสามองค์ คือ พระยูไลที่ถือดอกบัว, พระยูไลที่ถือดวงแก้วมณี และพระยูไลที่ถือเจดีย์บุ่นเซียง ทั้งสามองค์จะประสานงานกัน เพื่อโปรดสัตว์บนโลกมนุษย์ โดยท่านจะลงมาจุติจากสุขาวดีเป็นส่วนใหญ่ มักมาในรูปของพระมหาโพธิสัตว์ที่บารมีมากแล้ว จากนั้น จึงปฏิบัติธรรมจนบรรลุยูไล และสามารถทำกิจต่างๆ ได้ โดยชุดแรกจะลงมาสามองค์ จากนั้น ชุดต่อๆ ไปจะลงมาเรื่อยๆ สามองค์อย่างนี้ สืบเนื่องต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะสิ้นอายุกาลพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้

  1. พระยูไลถือดอกบัว คือ พระยูไล ผู้โปรดสัตว์ด้วยการสอนธรรม มักมีสถานธรรม และนิยมสอนธรรมจักร คือ หมุนดอกบัวกลางกาย ก็จะสำเร็จเป็นพระยูไล ถือ ดอกบัว ท่านมักสอนสัตว์จำนวนมาก แต่ไม่เน้นสัตว์ที่สอนได้ยาก และมักมีสถานธรรมยิ่งใหญ่ มีผู้เข้าออกสถานธรรมมาก การบำเพ็ญนั้น นอกจากจะสำเร็จธรรมขั้นยูไลแล้วขั้นต่อไปคือต้องออกโปรดสัตว์ สอนธรรม เช่น ธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ พบปะผู้คนแล้วถ่ายทอดธรรม หรือตั้งสถานธรรมเพื่อสอนธรรม 
  2. พระยูไลถือดวงแก้ว คือ พระยูไล ผู้โปรดสัตว์ด้วยการปกป้องประเทศ กำหนดเขตอาคม คุ้มกันประเทศไว้ ไม่ให้ถูกศัตรูรุกรานหรือทำลายได้ พร้อมกับชักชวนผู้คนให้เร่งปฏิบัติธรรม ทำคุณงามความดีไว้ เพื่อให้กรรมของประเทศเบาบางลง ก่อนที่จะลดกำลังเขตอาคมลงภายหลัง การบำเพ็ญนั้น นอกจากจะสำเร็จธรรมขั้นยูไลแล้วขั้นต่อไปคือต้องปกป้องคุ้มครองทางโลก เช่น ใช้ดวงแก้วปกป้องคุ้มครองประเทศ ซึ่งจะยื้อเวลาไม่ให้กรรมเข้าถึงได้เร็ว แล้วจึงหาวิธีช่วยปลดกรรม หรือเร่งทำบุญ ปฏิบัติธรรมก่อนที่วิบากกรรมจะเข้ามาถึงในที่สุด
  3. พระยูไลถือเจดีย์บุ่นเซียง คือ พระยูไล ที่มักไม่อยู่กับที่ และนิยมธุดงค์จรไปเรื่อยๆ เพื่อโปรดจิตวิญญาณที่ตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆ และมักเป็นจิตวิญญาณร้ายๆ ที่โปรดได้ยาก ด้วยการดึงจิตวิญญาณ เข้ามากักไว้ในเจดีย์บุ่นเซียงก่อน แล้วกักตนฝึกวิชาโปรดสัตว์ร้ายนั้นให้หลุดพ้นในที่สุด การบำเพ็ญนั้น นอกจากจะสำเร็จธรรมขั้นยูไลแล้วขั้นต่อไปคือต้องออกโปรดสัตว์ที่เป็นจิตวิญญาณ โดยนำจิตวิญญาณที่เร่ร่อนเข้ามาอยู่ในกายสังขารของตนเอง แล้วบำเพ็ญธรรมต่อไปเพื่อโปรดจิตวิญญาณที่ดุร้ายให้หลุดพ้นเป็นจิตวิญญาณที่ดี ยกตัวอย่างเช่น หลวงพ่อโต ซึ่งโปรดจิตวิญญาณนางนาค จนหลุดพ้นจากความเป็นปีศาจร้ายในที่สุด

 


พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม)

พระอวโลกิเตศวรในฐานะเป็นพระธยานิโพธิสัตว์ องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นเสมือนปุคคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปฺรัชฺญาปารมิตาสูตฺร, สทฺธรฺมปุณฑรีกสูตฺร และการณฺฑวยูหสูตฺร

คำว่า อวโลกิเตศวร ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายนัยด้วยกัน แต่โดยรูปศัพท์แล้ว คำว่าอวโลกิเตศวรมาจากคำสันสกฤตสองคำคือ อวโลกิต กับ อิศวร แปลได้ว่าผู้เป็นใหญ่ที่เฝ้ามองจากเบื้องบน หรือพระผู้ทัศนาดูโลก ซึ่งหมายถึงเฝ้าดูแลสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์นั่นเอง, ซิมเมอร์ นักวิชาการชาวเยอรมันอธิบายว่า พระโพธิสัตว์องค์นี้ทรงเป็นสมันตมุข คือ ปรากฏพระพักตร์อยู่ทุกทิศอาจแลเห็นทั้งหมด ทรงเป็นผู้ที่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คืออาจจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้ แต่ทรงยับยั้งไว้เนื่องจากความกรุณาสงสารต่อสรรพสัตว์ นอกจากนี้นักปราชญ์พุทธศาสนาบางท่านยังได้เสนอความเห็นว่า คำว่า อิศวร นั้น เป็นเสมือนตำแหน่งที่ติดมากับพระนามอวโลกิตะ จึงถือได้ว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เดียวที่มีตำแหน่งระบุไว้ท้ายพระนาม ในขณะที่พระโพธิสัตว์พระองค์อื่นหามีไม่ อันแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญยิ่งของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
          พุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ในพระนามว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต คือผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักให้อรรถาธิบายเป็นใจความว่าหมายถึง พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลก (ที่กำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์) คำว่ากวนซีอิมนี้พระกุมารชีวะชาวเอเชียกลางผู้ไปเผยแผ่พระศาสนาในจีนเป็นผู้แปลขึ้น ต่อมาตัดออกเหลือเพียงกวนอิมเท่านั้น เนื่องจากคำว่าซีไปพ้องกับพระนามของ จักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลีซีหมิง นั่นเอง

No data was found
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post