Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

๑๕.หลวงปู่สาม  อกิญฺจโน

วัดป่าไตรวิเวก  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์

“พระอริยเจ้าผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร”

 

พระเดชพระคุณหลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้เจริญด้วยธุดงควัตรสัมมาปฏิบัติ กตัญญูกตเวทีต่อพระบูรพาจารย์เป็นที่ตั้งเมื่อท่านพระอาจารย์มั่น เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ท่านนอนเฝ้ารักษาศพของท่านอาจารย์มั่นตลอด ๓ เดือนจนถึงพิธีประชุมเพลิง

เบื้องต้นก่อนจะเข้ามาวงศ์กรรมฐานท่านได้รับคำแนะนำจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ให้เข้าหาท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเป็นผู้ไม่ติดสถานที่ ท่องเที่ยวภาวนาตามป่าเขาไปเรื่อยทั่วทุกภาคของประเทศไทย ท่านจำพรรษามากแห่งแทบจะไม่ซ้ำกัน เป็นหนึ่งในกองทัพธรรมยุคแรกที่ธุดงค์เผยแผ่ธรรมจนได้รับคำชมจากท่านพระอาจารย์มั่นว่า  “เป็นผู้เจริญด้วยธุดงควัตร จำพรรษาได้มากแห่ง และเป็นผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร“  ท่านมีสหธรรมิกคือ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และท่านพ่อลี ธมฺมธโร

...เราต้องพยายาม การภาวนาก็เป็นบุญเป็นกุศลมากมาย ถ้าทำได้ทุก ๆ วัน ทำได้เสมอไป ก็เป็นกุศลทุกวัน ให้คิดดู ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จะมาถึงวันไหนเราก็ไม่รู้ ไม่ว่าแต่คนเฒ่าคนแก่ คนหนุ่มก็ตาย ได้ฝึกหัดทำทุกวัน ๆ มันตายไปก็ยังได้ขึ้นสวรรค์ การกระทำจิตใจนี้เป็นของดี เป็นยอดของทาน ฝึกหัดอริยทรัพย์ภายในนั่นเป็นอริยะ ฝึกหัดดัดแปลงจิตใจให้มันดีมันบริสุทธิ์หมดมลทิน..

จิตใจไม่เหมือนกัน บางคนใจร้ายสามารถฆ่าคนตายได้ มันต่างกันอย่างนั้นแหละ แล้วการบุญการกุศลก็ไม่เชื่ออีก หัวใจมันก็โหดร้าย ต้องพยายามกระทำจิตใจให้มันสงบ จิตใจก็อ่อนน้อมต่อธรรม ต่อวินัย ต่อธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าใจเรามันดีขึ้นเรื่อย ๆ ละก้อ ใจมันก็อ่อน ถ้าฝึกหัดตนให้ชำนิชำนาญ ใจก็กล้าหาญ อาจหาญกำจัดโรค กำจัดภัยได้ทุกอย่าง

เกิด ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๒

ละสังขาร ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๖๒ / ญัตติ พ.ศ. ๒๔๗๑

อายุ ๙๒

พรรษา ๗๑

วัด วัดป่าไตรวิเวก

ท้องที่ จ.สุรินทร์

สังกัด ธรรมยุติกนิกาย

 

ที่มา

  • หนังสือ ๒๘ พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
  • คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์ เนื่องในงานฉลองอายุครบ ๘๐ ปี และฉลองครบรอบ ๑๐ ปี วัดป่าไตรวิเวก
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post