Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงพ่อโอภาสี

ประวัติ[แก้]

หลวงพ่อโอภาสี หรือ พระมหาชวน เกิดวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2441 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2442) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่ออายุ 5 ปี ท่านได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูนนท์จรรยาวัตต์ เจ้าอาวาสวัดนันทาราม อ. ปากพนัง[1] และในขณะที่ท่านบรรพชา ท่านก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมประกอบไปด้วยกัน ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ไม่นาน ท่านก็ลาพ่อแม่เดินทางมาศึกษาต่อยังกรุงเทพฯ ถวายตัวเป็นศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรฌานวงศ์] ซึ่งได้รับไว้ในพระอุปการะ ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชขฌาย์เช่นกัน ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมช่วงหนึ่งจนกระทั่งสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 7 ประโยค ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้ออกจากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้ออกธุดงค์ต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ จนได้เป็นศิษย์หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา หลังจากถูกขับออกจากวัดบวรนิเวศ ท่านได้ไปปักกลดอยู่ที่ของนายเนียม คหบดี ผู้เป็นผู้ที่มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ในช่วงเวลานั้น ท่านก็ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือทำกิจของสงฆ์ ชาวบ้านในละแวกนั้นเรียกนามใหม่ท่านว่า หลวงพ่อโอภาสี และประชาชนก็ช่วยกันสร้างกุฎหรือถวายจัตตุปัจจัยเพื่อสร้างวัดป้องกันแดดและฝน หลวงพ่อท่านได้นำจตุปัจจัยทั้งหมดที่ประชาชนนำมาถวายนำไปเผาทิ้งในกองไฟ ซึ่งท่านได้สอนประชาชนว่า การที่เรานำเพลิงเผาจตุปัจจัยเหล่านี้ ก็เปรียบเหมือนการดับเผาจิตใจความรัก โลภ โกรธ หลง ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ หรือเผากิเลสให้หมดสิ้นไปจากชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นท่านจึงไม่ยึดติดใด ๆ ในวัตถุและตั้งใจศึกษาพระธรรมตั้งแต่ครองสมณเพศ และสามารถตัดกิเลสได้ ไม่ยึดติดเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้[2]

สมัยสงครามอินโดจีน พระเกจิอาจารย์จะปลุกเสกวัตถุมงคลมากมายที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยสำหรับวัตถุมงคลในตอนนั้นของท่านคือ ผ้าประเจียด เป็นวัตถุมงคลที่ดังในสมัยนั้น เชื่อกันว่าสิ่งนั้นจะคุ้มครองทหารไทยในการต่อสู้ในสงคราม และพระเครื่องนั้นผู้ที่บูชาจะต้องเป็นคนที่รักษาศีลธรรมด้วย วัตถุมงคลของท่านก็จะมีเพียงรุ่นเดียวคือ เหรียญครุฑแบกเสมา ประชาชนและลูกศิษย์ของท่านต่างเคราพหลวงพ่อท่านเป็นอย่างมาก บทสวดมนต์หรือคาถาของท่านก็สำหรับให้ประชาชนและลูกศิษย์ลูกหาสวดเพื่อเดินทางไปไหนจะได้ปลอดภัย และมีสิริมงคลในชีวิต ขอเพียงเรายึดมั่นในความดี และท่านก็มีคติคำสอนอยู่อย่างหนึ่งคือ ก่อนจะหลับไปแต่ละวัน ขอให้ทุก

คนนึกถึงความดีที่ตนเองทำไปในแต่ละวันด้วย หลวงพ่อโอภาสีได้ถึงแก่มรณภาพลงในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ในขณะที่พุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดียได้ทำจดหมายนิมนต์หลวงพ่อโอภาสีไปนมัสการสังเวชนียสถาน และให้ญาติโยมได้นมัสการอย่างใกล้ชิด จึงทำให้กำหนดการทุกอย่างของงานต้องยกเลิกลงไป ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปนานกว่า 60 ปีแล้วก็ตาม แต่ประชาชนและลูกศิษย์ลูกหาก็ไม่เคยลืมเลือน และยังแสดงความกตัญญูจัดงานสรงน้ำรูปหล่อท่านเป็นประจำ และประชาชนก็เชื่อว่าหลวงพ่อท่านไม่เคยไปไหนเลย แต่ยังคงอยู่คุ้มครองลูกศิษย์อยู่ สังขารของหลวงพ่อท่านก็ยังคงอยู่ในสวนอาศรมบางมด มีพุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธาไปกราบไหว้บูชามิได้ขาด ประหนึ่งท่านยังมีชีวิตอยู่[3]

 

พระมหาชวน (ชวน มะลิพันธ์)

ชื่ออื่น หลวงพ่อโอภาสี

เกิด 16 มีนาคม พ.ศ.2441 (57 ปี)

มรณภาพ 31 ตุลาคม พ.ศ.2498

การศึกษา ปธ.7

ที่อยู่ วัดหลวงพ่อโอภาสี กรุงเทพมหานคร

บรรพชา ไม่ระบุ

อุปสมบท ไม่ระบุ

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post