Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงปู่เคน เขมาสโย

zSpecial

หลวงปู่เคน เขมาสโย

หลวงปู่เคน เขมาสโย

วัดป่าหนองหว้า บ้านหนองหว้า ต.ทรายมูล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

พระอริยสงฆ์ผู้ยินดีอาศัยในธรรม

หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง อารมณ์ดี เยือกเย็นเสมอ พร้อมให้การสังเคราะห์ต่อศรัทธาญาติโยม ท่านมีอัธยาศัยเป็นพระที่ไม่ค่อยเก่งในการปฏิสัณฐานกับศรัทธาญาติโยมมากนัก เรียกว่าไม่ค่อยพูด นอกเสียจากว่านาน ๆ ครั้งองค์ท่านก็มีเมตตาสอนให้ข้อคิดคติธรรมบ้าง ในลักษณะคำสอนสั้น ๆ แต่ก็ถึงใจกับลูกศิษย์ลูกหา เมื่อได้น้อมใจที่พยายามเข้าใจในธรรมที่องค์ท่านเมตตาสอน ทั้งผิวพรรณขององค์ท่านก็สดใส ขาวผ่อง สมกับความเป็นพระอริยเจ้าผู้มีคุณธรรมขั้นสูง หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ศิษย์ผู้มีความผูกพันกับหลวงปู่เคน เคยกล่าวไว้ว่า “พระผู้เฒ่าไม่ต้องห่วงแล้ว ท่านสบายแล้ว”

หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “นิ่งแนน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นบุตรของคุณพ่อไพ คุณแม่บับ ท่านเกิดได้ไม่นานแม่ก็เสียชีวิต น้าสาวเลยเอาท่านไปเลี้ยงเป็นลูก แล้วเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ฤกษ์งาม”

หลวงปู่เคน เขมาสโย ในสมัยเด็ก ๆ องค์ท่าน มีจิตใจในทางเมตตา ใฝ่ใจใคร่รู้ในทางธรรมมาก และมีจิตเมตตา สงสารในสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และมีชีวิตที่ไม่โลดโผนมากนัก ผิดกับวัยรุ่นวัยหนุ่ม ที่คะนองตามแบบหนุ่มบ้านนอกลูกทุ่งโดยทั่วไป ด้วยใจที่ใฝ่ในทางธรรม จึงออกปากขอโยมพ่อ โยมแม่ ขอออกบวช ก็เป็นที่น่ายินดีกับทุกคนที่ได้รับฟังเวลานั้น ช่วงนั้นเป็นเดือน ๑๑ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พอตอนเย็น ท่านกับเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะบวชด้วยกันทั้ง ๔ คน ก็มาฝึกขานนาคกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง

ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ สิมกลางน้ำ วัดป่าบ้านหนองดินดำ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดป่าคามวาสี) ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล โดยมีพระอธิการพุฒ ยโส (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูพุทธิวาคม) เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่หอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พระอาจารย์เคน ได้รับฉายาว่า “เขมาสโย” แปลว่า “ผู้ยินดีอาศัยในธรรม” ในการบวชครั้งนั้นได้มีการเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกัน ๔ นาค คือ
๑.นาคเคน ฤกษ์งาม หรือท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย
๒.นาคประสาร รำไพ หรือท่านพระอาจารย์ประสาร ปัญญาพโล
๓.นาคสมัย โสภาจาร หรือท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก
๔.นาคชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเป็นสามเณร เพราะอายุยังไม่ถึง ต่อมาได้ลาสิกขาบท

หลังจากท่านบวชแล้วก็ติดตามหลวงปู่นนท์ โกวิโท เที่ยวไปธุดงค์ที่ จ.นครพนม ได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่บุญมา มหายโส ที่วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม อยู่พักหนึ่ง

ภายหลังพระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ได้ฝากให้ท่านไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต เพื่อให้ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้นให้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่คำ มีอายุ ๖๐ ปี ที่วัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพรรษแรก คือปี พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงปู่คำ ให้อาตมาฝึกนั่งสมาธิเจริญคำภาวนาว่า “พุทโธ” ด้วยการให้พิจารณาการหายใจเข้าหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสติกำหนดรู้อยู่ในการหายใจ ฝึกอยู่ได้หนึ่งพรรษาจิตยังหยาบอยู่ จึงต้องตั้งสติอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ

จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์จันทร์ ไปอยู่บ้านนาเหมือง จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์จันทร์ ได้สอนการอ่านตัวธรรมที่จารอยู่ในใบลานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการฝึกจิตเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนจิตใจสงบดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่านเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้หูตาสว่างไสวไปอีกขั้นหนึ่ง คือมองอะไรก็เป็นธรรมดา จิตใจไม่ว้าวุ่นเป็นสมาธิดี ท่านพระอาจารย์เคนอยู่อบรมธรรมกับพระอาจารย์จันทร์ อยู่ ๓ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ณ ที่นี้ ก็เป็นสัปปายะดี คือเป็นสถานที่ดี มีความสงบสงัด เป็นที่ถูกใจ เหมาะแก่การภาวนาปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษ คือปี พ.ศ.๒๔๙๘

จากนั้นจึงมาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ จากนั้นท่านทราบข่าวว่าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระที่มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อีก ๑ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่อ่อน ได้อบรมสั่งสอนในเรื่องทางการฝึกจิต ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะปล่อยไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะใจจะไหลลงต่ำ ไม่ดีงาม เราต้องรู้จักควบคุมบังคับ ฝืนไม่ให้อาหารในทางเสื่อม ไม่อย่างนั้นจิตใจจะไม่เจริญก้าวหน้า ท่านสอนให้ยึดคำบริกรรม “พุทโธ” เป็นหลัก เพราะไม่มีคำบริกรรมอย่างใดจะดีเท่าการสรรเสริญพระพุทธเจ้าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อบรมเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปอยู่ป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามีนี่เพื่อทำปัญญาให้เกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่า

ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อท่านพระอาจารย์เคน รับการอบรมจากหลวงปู่อ่อนแล้ว ก็ได้กราบลา แล้วธุดงค์ไปที่ดงหม้อทอง แล้วไปอยู่ตามเขาตามถ้ำต่าง ๆ ที่ อ.บ้านผือ

สมัยนั้นยังมีป่าไม้ให้ร่มเย็น สมัยที่องค์ท่านออกเดินธุดงค์ ไม่ต้องกล่าวถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกว่า มีแต่ป่ากับป่า ท่านเล่าว่าสิงสาราสัตว์ อย่างเสือ กวาง เก้ง แม้ช้างป่า มากมายจริง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้องค์ท่านท้อในการเดินทางเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ การไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ได้พิจารณายึดเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้แนะนำให้ไปปฏิบัติตามครรลองของพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตในสมัยนั้นก็ได้แต่ข้าวเหนียว ไม่มีกับข้าว อดบ้างอิ่มบ้างก็อดทนอดกลั้น แม้จะพบความยากลำบาก ก็ไม่กังวลกับสิ่งใดใด

ท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย ได้ธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว ขึ้นไปธุดงค์อยู่รุกขมูลตามร่มไม้ เพิงหิน โถงถ้ำที่ภูเขาควาย ประเทศลาว ที่ภูเขาควายนี้เป็นที่มีอาถรรพณ์ และศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณร้าย พระธุดงค์มากมายเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก ท่านเล่าว่า ที่ภูเขาควายนี้เป็นภูเขาที่สูงมากของฝั่งลาว สูงกว่าดอยสุเทพเสียอีก เป็นภูเขาที่น่ากลัวจริง ๆ เพราะเป็นป่าทึบดงดิบหนา มีสัตว์ป่ามากมาย เช่นช้าง เสือ หมี งู และสัตว์มีพิษอื่น ๆ อยู่มาก ที่สำคัญอากาศบนยอดเขาภูเขาควายหนาวเย็นมาก ถ้ามองรอบตัวจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะป่ามันทึบมาก

เวลาขึ้นเขาไปต้องค่อย ๆ มีสติเหยียบก้อนหินขึ้นไปทีละก้อนอย่างเชื่องช้า เพราะหินบางก้อนลื่นมาก เขาก็สูงชันมาก กลัวจะพลาดตกลงไป ทั้งบนบ่าก็แบกกลด แบกบาตรอัฐบริขารหนักมาก ท่านนึกถึงตนเองสมัยนั้นก็น่าสงสารตนเองยิ่งนัก แต่เราเป็นพระที่ขึ้นชื่อว่าเสียสละในทุกสิ่งทุกอย่างก็เลยปลงได้ เพราะถือว่าครูบาอาจารย์ก็เคยลำบากมาก่อนแล้ว ท่านจึงได้ดีมีอรรถมีธรรม ครูบาอาจารย์ที่เคยมาเยือนที่ภูเขาควายแห่งนี้ในสมัยก่อน ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เครื่อง ธัมมธโร หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ก็เคยมาเยือนที่ภูเขาควายเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้วทั้งนั้น

เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา ท่านพระอาจารย์เคน ได้เห็นตาผ้าขาว กำลังกวาดใบไม้อยู่บนพลาญหิน จึงรู้สึกดีใจว่าบนยอดภูเขาควายนี้ ก็มีผู้มาบำเพ็ญสมณธรรมเช่นกัน ท่านจึงรีบเดินตรงเข้าไปหาหวังพูดคุยเจรจาด้วย เพราะไม่ได้พูดคุยกับใครมานานแล้ว แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่พบใคร มีแต่ความว่างเปล่า หรือจะเป็นเทพเทวดาอารักษ์รักษาป่าก็เกินจะคาดเดาได้ คืนนั้นท่านพระอาจารย์เคน พักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำที่ท่านไปอยู่ก็มีโครงกระดูก ไม่ทราบเป็นของพระธุดงค์หรือของโยมชาวบ้านที่มาล่าสัตว์ คงจะมาพักแล้วโดนงูกันตายก็เป็นได้ เพราะมีสิ่งของบางอย่างวางทิ้งไว้เช่นกาน้ำ การมาอยู่ที่ภูเขาควายก็ได้ความสงบสงัด ความวิเวกดี ได้ความก้าวหน้าในสมาธิตามลำดับ ท่านได้เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ในเขตฝั่งลาวอยู่ถึง ๒ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕

ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบของบ้านเมืองในประเทศลาว ชาวบ้านจึงให้ความเห็นให้ท่านเดินทางกลับมาฝั่งไทยจะดีกว่า ท่านธุดงค์ข้ามมาทางบึงกาฬ-ปากคาด-โซ่พิสัย เรื่อยมาทางคำตะกล้า-บ้านม่วง ผ่านวานรนิวาส จนมาถึงสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์เคน เขมสโย ได้มาวิเวกมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่บ้านหนองหว้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณด้านหลังกุฏิไม้(หลังเก่า)ขององค์ท่าน ท่านว่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยมาปักกลดอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนแถบนี้เป็นป่ารกชัฏ แล้วก็ยังมีเสืออยู่ แต่ปัจจุบันก็เป็นอย่างที่เห็น กลายเป็นไร่นาของชาวบ้านหมดแล้ว สมัยที่ท่านพระอาจารย์เคน มาวิเวกอยู่ที่นี่ครั้งแรก มีชายรูปร่างสูงใหญ่ เป็นคนโบราณ ตัวดำทมึน เดินเข้ามาหา บอกว่าตามมาดูแลรักษา มิให้เกิดอันตรายใดใดทั้งสิ้น ขอให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยความสบายใจ เขาบอกว่าเขาตามมาจากฝั่งลาว จะมาขออยู่ด้วยตลอดไป ท่านพระอาจารย์เคน ก็ไม่ได้ว่าอะไร

จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้เข้าไปศึกษาอบรมธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์วัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมมาก เป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านพระอาจารย์วัน นับเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่านพระอาจารย์เคน ที่ท่านมีแต่ให้มาตลอด ข้อธรรมที่ไม่รู้ ท่านก็สอนให้รู้โดยไม่ปิดบังแต่อย่างใด ท่านสอนให้พิจารณษสังขารร่างกายนั้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่าไปยึดติดในสิ่งที่อยู่นอกกาย เช่น เนื้อหนังมังสาที่สวยงาม ล้วนแต่เป็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงแท้ทั้งนั้

หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลยุพราชสว่างแดนดิน เนื่องจากลื่นหกล้มที่กุฏิ ในช่วงก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งทำให้สะโพกท่านหัก ภายหลังจึงได้นำตัวท่านส่งไปโรงพยาบาลสกลนคร และได้ละสังขารลงเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา สิริรวมอายุ ๘๖ ปี ๗ วัน พรรษา ๖๓

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post