Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ 

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ 

ความยิ่งใหญ่ทางอารยธรรมของพุทธศาสนานั้นอยู่ทั่วทุกหนแห่งบนแผ่นดินสยาม เป็นเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรที่ปกคลุมให้ความร่มเย็นแก่ชาวประชาท่ามกลางแดดที่แผดกล้าเป็นอย่างนี้มานานแสนนาน ถ่ายทอดผ่านช่วงชีวิตอายุคนแล้วคนเล่า และสิ่งหนึ่งที่ถ่ายทอดกันมาก็คือ สรรพวิชาของพระเกจิอาจารย์แต่ละท่านแต่ละยุคได้ยึดถือสืบทอดกันมา และหนึ่งในวิชาที่ถือว่าเป็นเสมือนหัวใจในการปฏิบัติของพระสงฆ์สายกรรมฐานก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และการธุดงค์ซึ่งหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมานั้นก็มีพระเกจิอาจารย์ชั้นครูหลายๆท่านที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ และพระเกจิอาจารย์ที่เรากำลังจะกล่าวถึงรูปนี้ท่านเป็นศิษย์เอกของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงมากมาย นั่นก็คือ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ แห่งวัดสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง

ย้อนรำลึกไปถึงเมื่อครั้งที่ท่านยังเยาว์วัยนั้น หลวงปู่หลวง ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ท่านมีนามเดิมว่า หลวง นามสกุล สอนวงศ์ษา บิดาชื่อนายสนธิ์ มารดาชื่อนางลียา หลวงปู่หลวงท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2464 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา ณ บ้านบัว หมู่ที่ 5 ตำบลสว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านเป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ท่านจึงจำเป็นต้องรับภาระช่วยเหลือบิดามารดาดูแลน้องๆอีก 5 คน เมื่อตอนที่หลวงปู่หลวงมีอายุ 7-8ขวบ บิดามารดาได้สังเกตว่าเด็กชายหลวง ตื่นแต่เช้าติดตามบิดามารดาไปใส่บาตรทุกเช้าโดยไม่ขาด และวันพระก็จะติดตามบิดามารดาไปทำบุญและฟังธรรมเทศนาที่วัดเป็นประจำเหมือนชาวบ้านชนบนทั่วไปที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความศรัทธาอย่างแรงกล้า เมื่อบิดามารดาเห็นว่าเด็กชายหลวงรู้จักเข้าวัดเข้าวาตั้งแต่ยังเด็ก จึงได้พาเด็กชายหลวงไปหาหลวงลุง ที่วัดพระศรีรัตนาราม และฝากเด็กชายหลวง อยู่ปรนนิบัติหลวงลุง ที่วัดศรีรัตนารามให้อยู่เป็นศิษย์ ซึ่งเป็นลุงของบิดาท่านได้บวชเป็นพระอยู่ในหมู่บ้านและเด็กชายหลวงก็ได้เล่าเรียนหนังสือไปด้วย

ในขณะที่หลวงปู่หลวงได้เป็นลูกศิษย์อยู่ที่วัด ท่านหลวงลุงของท่านได้เอาหนังสือสมาธิวิธีของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นหนังสือชื่อว่า "พระไตรสรณคมน์"เป็นหนังสือแนวปฏิบัติศึกษาสมาธิกรรมฐาน ในศิษย์สายกรรมฐานศิษย์พระอาจารย์มั่น และได้ใช้เป็นหนังสือแนวปฏิบัติจนถึงในปัจจุบันและศิษย์ในอนาคตด้วย หลวงปู่หลวงท่านได้เล่าเรียนศึกษาหนังสือ"พระไตรสรณคมน์" จนชำนาญตั้งแต่อายุได้เพียง 11-12 ขวบเท่านั้น และในขณะเล่าเรียนหนังสือหนังหาทั้งได้ศึกษาอักขระขอม บาลี และธรรมวิปัสสนากรมฐานไปด้วยกัน จนกระทั่งอายุ 22 ปี และในปี พ.ศ.2485 ได้อุปสมบท ณ พัทสีมา วัดศรีรัตนาราม ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้รับฉายาว่า "ขันติพโล" เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐานได้เต็มที่และมีความชำนาญมากทีเดียว เพราะว่าท่านได้ศึกษาหนังสือ "พระไตรสรณคมน์"มาตั้งแต่อายุ 11 ขวบจนถึง

อายุ 22 ปี ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์และถึงจะเป็นพระบวชใหม่แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไรในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเลย

หลังจากที่หลวงปู่หลวงท่านเป็นพระภิกษุแล้ว ในปี พ.ศ.2486 ท่านได้เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี และหลวงปู่หลวงท่านก็สอบได้นักธรรมชั้นตรี หรือเรียกสั่นๆว่า นักธรรมตรี ในปี พ.ศ.2487 ท่านสอบได้นักธรรมโท สมดังเจตนาที่ได้ตั้งใจไว้ ณ วัดศรีรัตนารามแห่งนี้ และในปีเดียวกันนี้ท่านพระอาจารย์สิม พุทธจาโร แห่งวัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงหใม่ ซึ่งท่านเป็นศิษย์กรรมฐานสายพระอาจารย์มั่นได้มาเยี่ยมญาติโยม ที่บ้านเกิดแห่งนี้และได้เข้าสำนักที่วัดศรีรัตนาราม และพระภิกษุหลวงได้รู้จักกับท่านอาจารย์สิม ท่านอาจารย์สิมท่านได้แนะนำหลวงปู่หลวงให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์มั่น อาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานแห่งกองทัพธรรม หลวงปู่หลวง หรือภิกษุหลวงจึงได้เดินทางเพื่อขอฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์มั่น และได้ธุดงค์มาพบกับท่านพระอาจารย์แว่น ธรปาฏล ในเขตสกลนคร ก็คือวัดป่าสุทธาวาสในปัจจุบันนี้ และก็ได้เข้ามอบตัวฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านพระอาจาร์มั่น ภูริทัตโตเถระ ท่านอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานตามคำแนะนำของท่านพระอาจารย์สิม พุทธจาโร เป็นครั้งแรกที่ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานด้วยกันในสำนักของครูบาอาจารย์

ในปี พ.ศ.2488 หลวงปู่หลวงท่านได้อยู่ศึกษาและธุดงค์กับศิษย์รุ่นพี่ด้วยกันหลายครั้งและอยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่นและครูบาอาจารย์ในสำนัก และในปี พ.ศ.2489-2491 หลวงปู่หลวง ท่านได้ออกธุดงค์วิเวกธรรมวิปัสสนากรรมฐานกับครูบาอาจารย์ในสำนักและหลวงปู่หลวงได้เป็นผู้นำพาสหายในสำนักโดยได้รับมอบหมายจากครูบาอาจารย์เป็นผู้นำหัวหน้าคณะออกเดินธุดงค์วิเวกธรรมวิปัสสนากรรมฐาน ไปตามป่าเขาลำเนาไพรและสถานที่ต่างๆ ร่วมกับคณะและกับครูบาอาจารย์ในสำนัก และออกธุดงค์ร่วมเดินทางกับท่านอาจารย์ใหญ่ก็คือท่านอาจารย์มั่น อยู่ตลอดเวลาที่เล่าเรียนศึกษาอยู่กับท่าน จนกระทั่งถึงในปีพ.ศ.2492 หลวงปู่ท่านได้สูญเสียท่านอาจารย์ใหญ่ คือท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเถระ ทำให้ท่านเสียใจเป็นอย่างมากเสมือนท่านได้สูญเสียอะไรเสียอย่างที่จะหาที่ไหนไม่ได้และไม่มีโอกาสเจอะเจออีกต่อไปแล้วในชาตินี้ ท่านอาจารย์ใหญ่ได้มรณภาพได้สร้างความเสียใจให้หมู่คณะและผู้ที่ศรัทธานับถือและศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศและต่างประเทศในขณะนั้น และหลวงปู่หลวงท่านได้อยู่พิธีช่วยงานประชุมเพลิงท่านอาจารย์มั่น ซึ่งในงานลูกศิษย์ลูกหามาในงานจนครบทุกองค์ ขาดแต่เพียงหลวงพ่อลี หรือท่านเจ้าคุณพระสุทธธรรมรังษี วัดอโศการาม ท่านนั้นที่ไม่ได้มาร่วมงานนี้เพียงรูปเดียวเท่านั้นเพราะว่าท่านพ่อลีได้ไปงานประชุมสงฆ์สำคัญระหว่างประเทศในประเทศอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าแปลกเป็นอย่างยิ่ง ในตอนประชุมเพลิงศพท่านอาจารย์มั่น ครูบาอาจารย์ในสำนักต่างก็เห็นท่านพ่อลีมาปรากฏในงาน พอเสร็จพิธีพระเถระผู้ใหญ่จะมองหา หรือพยายามที่จะมองหาท่านพ่อลี แต่กลับหาไม่เจอ หรือจะถามหาก็ไม่มีใครเห็นอีกเลย นี่ก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์ยิ่งนัก

ในปี พ.ศ.2492-2493 หลวงปู่หลวงได้เดินทางขึ้นมาเชียงใหม่พร้อมกับท่านอาจารย์สิม พุทธจาโร และได้ขอแปรญัตติใหม่ เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม พ.ศ.2493 ณ วัดเชตวัน จ.ลำปาง โดยมีท่านพระครูธรรมาภิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาใหม่เป็น "กตปุญโญ"

ในปีพ.ศ.2493-2505 ท่านเจ้าคณะหลวงปู่หลวง ท่านได้ออกธุดงค์ในภาคเหนือเข้าไปในประเทศลาวบ้าง เข้าไปประเทศพม่าบ้าง กับครูบาอาจารย์รุ่นพี่ เช่น หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ชอบ ท่านพ่อลี ท่านอาจารย์สิม หลวงปู่แว่น หรือบางครั้งหลวงปู่หลวงท่านจะนำพาศิษย์รุ่นน้องออกธุดงค์ด้วยตัวของท่านเอง และยังได้ไปช่วยงานต่างๆในวัดของครูบาอาจารย์อยู่เป็นประจำเสมอจนกระทั่งได้ไปช่วยงานท่านพ่อลี ที่วัดอโศการาม ที่จังหวัดสมุทรปราการ 

ในปีพ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2506 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสำราญนิวาส และในปีเดียวกันก็ได้รับเป็นเจ้าคณะตำบลอำเภอเกาะคา ในปีพ.ศ.2509 ท่านเจ้าพระคุณหลวงปู่หลวงท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูการุณยธรรมนิวาส

ในปีพ.ศ.2511 ท่านเจ้าพระคุณหลวงปู่หลวงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ หลวงปู่หลวงท่านได้ดูแลรักษาพัฒนาวัดป่าสำราญนิวาสทั้งเด้านศาสนสถานและศาสนวัตถุ ตลอดทั้งทางด้านจิตใจของสาธุชน เทศนาสั่งสอนอบรม ทาน ศิล สมาธิภาวนากรรมฐาน วิปัสสนาแก่ญาติโยมทั้งทางไกลและใกล้ และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตหลวงปู่หลวงท่านได้ทุ่มเทเพื่อทำนุบำรุงและสืบสานพระพุทธศาสนา ตามเส้นทางของพระอาจารย์ทุกท่านที่หลวงปู่หลวงท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมา จึงถือได้ว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่น่าเลื่อมใสศรัทธาอีกรูปหนึ่งเลยทีเดียว

หลวงปู่หลวง ท่านละสังขารด้วยอาการสงบ ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ยังความโศกเศร้า ความรักความเลื่อมใส ความอาลัยอาวรณ์ต่อองค์หลวงปู่ผู้เป็นที่รักและเคารพบูชาของศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่ต้องสูญเสียพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในศิษย์สายหลวงปู่มั่นไปอีกหนึ่งองค์ สิริรวมอายุของหลวงปู่ได้ 82 ปี 4 เดือน 15 วัน สิริรวมพรรษา 8 พรรษามหานิกาย 53 พรรษาธรรมยุติกนิกาย

 

วัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post