Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก อ.เมือง จ.สุรินทร์

โซนพิเศษ โลกียภูมิและโลกุตตรภูมิ

หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก อ.เมือง จ.สุรินทร์

หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก อ.เมือง จ.สุรินทร์

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์

“ปฏิปทาของ หลวงปู่สาม อกิญจโน นั้น สาธุชนที่เคยเดินทางไปนมัสการ คงจะตระหนักดีว่า มีความคล้ายคลึงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มากทีเดียว ท่านมากไปด้วยขันติโสรัจจะ อดทน สงบเงียบ เยือกเย็น

ชีวิตเพศแห่งสมณะหลวงปู่ ไม่เคยว่างเว้นในการเดินธุดงค์ ไปตามป่าเขาและในจังหวัดต่าง ๆ จิตของท่านเต็มไปด้วยเมตตา ไม่เคยขัดศรัทธาคณะญาติโยมใคร ๆ เลย

นามเดิมของท่านว่า สาม นามสกุล เกษแก้วสี เกิดที่บ้าน นาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ บิดาชื่อนายปวม มารดาชื่อนางถึง

ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ปีชวด ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๕๓ ท่านเป็นบุตรคนโต (หัวปี)

ชีวิตในวัยเด็กนั้น สุดแสนยากลําบาก เพราะท่านต้องทํางานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิง ด้วยว่าน้อง ๆ ของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย

อายุได้ ๑๙ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน

เมื่อบวชเณรได้ ๒ ปี อายุ ครบ ๒๑ ปี ท่านได้เข้าอุปสมบท ต่อเป็นพระภิกษุสาม โดยมีท่าน พระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเอี่ยม และ พระอาจารย์สาม เป็นพระคู่สวด

ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๖๗ หลวงปู่สาม อกิญจโน ได้รับข่าวและกิตติศัพท์ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่าได้กลับมาจากการเดินธุดงค์ และได้มาพํานักอยู่ที่ป่าหนองเสม็ด ต.เฉนียง จ.สุรินทร์ จึงเดินทางไปนมัสการและได้ถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่ออบรมพระกรรมฐาน

หนึ่งพรรษาผ่านไป หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เห็นความพากเพียร ที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของหลวงปู่สาม ท่านจึงได้แนะนําให้ท่านไปศึกษาธรรมกับ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต และได้บอกว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขณะนี้อยู่ที่จังหวัดสกลนคร

ความที่สนใจในธรรมปฏิบัติ ท่านจึงกราบลาออกเดินธุดงค์รอนแรมไปท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลา หลายเดือนกว่าจะได้เข้านมัสการ หลวงปู่มั่น

แล้วท่านก็ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ๓ เดือน ภายหลังจากสามเดือนผ่านไป หลวงปู่มั่น ได้แนะนําให้หลวงปู่สาม ไปพบกับ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เพื่อเป็นพระผู้ฝึกฝนอบรมต่อไป

ในปีที่มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับ ท่านพระอาจารย์สิงห์ นั้น ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่กับการปฏิบัติ จนต้องล้มป่วยอย่างหนักเกือบเสียชีวิต แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้า ใน

ธรรมะของพระศาสดาเจ้า พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น ชนิดผอมหนังหุ้มกระดูกต้องอาศัยกําลังใจ และไม้เท้ายันตัวเดิน ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท้าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ

หลวงปู่สาม อกิญจโน แต่เดิมท่านบวช พระเป็นฝ่ายมหานิกาย เพราะในจังหวัดสุรินทร์สมัยนั้น ยังไม่มีพระฝ่ายธรรมยุตเลย

ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จึงให้แปรญัตติใหม่ที่อําเภอยโสธร ในครั้งนั้น หลวงปู่สาม และ หลวงปู่สกุย ได้ญัตติพร้อมกัน โดยมี ท่านพระครูจิตวิโส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระคู่สวด ฉายาว่า “อกิญจโน

หลวงปู่สาม เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ค่อยยอมอยู่กับที่ จะอยู่ก็เพียงเข้าพรรษา หรือขออุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ท่านก็จะ เดินธุดงค์ต่อไปตั้งแต่เหนือจดใต้ จากภาคกลางจดภาคตะวันออกภาคอีสานทั้งหมด

ตั้งแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่ม จนเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ต่อสู้ชีวิตทุ่มเทกับการปฏิบัติมาอย่างโชกโชน ท่านเพ่งเพียรภาวนาอยู่เป็นนิจ ครั้นมาปรารภกับตนเองว่า…

“บัดนี้กําลังกายของเราก็อ่อนแอลงไปมากแล้ว น่าจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม คือในจังหวัดสุรินทร์

นอกจากนี้แล้วก็ยังจะได้อยู่ ใกล้ครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่ดูลย์ อีกทั้งมารดาของท่านก็ได้ชราภาพมากแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นําธรรมะที่ท่านได้รับมาทั้งหมดเผยแพร่แก่บรรดาสาธุชนต่อไปอีกด้วย”

ท่านหลวงปู่สาม อกิญจโน จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงปู่สาม อกิญจโน ท่านเป็นพระนักธุดงคกรรมฐานที่มีความมานะอดทนเป็นพิเศษ

ท่านถือคติที่ว่า “ท่านเป็น ศิษย์ของพระตถาคต แม้ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด”

หลวงปู่สาม ท่านเคยเล่าเหตุการณ์ของพระธุดงค์สมัยก่อน นั้นว่า…

“สมัยโน้นพระธุดงค์ก็ลําบาก ชาวบ้านก็ลําบาก เพราะไม่เจริญอย่างปัจจุบันนี้นะ แต่มีความเพียรแรงกล้า มุ่งอรรถมุ่งธรรมกันจริงๆ

มาสมัยนี้หละหลวมไม่เอาดีเลย สอนแล้วก็ลืม…ลืมปฏิบัติกัน !”

หลวงปู่สาม อกิญจโน ท่านเป็นกําลังใน “กองทัพธรรม” ที่ สําคัญองค์หนึ่ง

กล่าวคือ… ท่านเดินทางร่วมไปปูพื้นฐานทางธรรมกับ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และ

คณาจารย์อีกหลายสิบองค์ทางภาคใต้

การเผยแพร่ในครั้งนั้น แม้จะมีอุปสรรคอย่างมากมาย แต่ด้วยกําลังใจอันแน่วแน่มั่นคง ของพระธุดงคกรรมฐาน จึงสามารถฟันฝ่าอุปสรรคนั้น ๆ ได้สําเร็จผลอย่าง งดงาม เป็นที่ยอมรับในหมู่ชนชาวภาคใต้เป็นอันมาก

คติธรรมที่หลวงปู่เทสก์ปรารภแก่คณะผู้ออกเผยแพร่ธรรม ยึดมั่นในจิตใจ คือ “เปียกได้…ไหม้ เสีย”

หลวงปู่สาม อกิญจโน ได้นํามาสอนอบรมบรรดาศิษย์ในกาลต่อมา เป็นกําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ควรน้อมเข้ามาพิจารณาคํานี้ให้จงหนัก

หลวงปู่สาม ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นําธรรมะออกเผยแพร่สู่ประชาชน ด้วยเมตตาธรรมแต่ถึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ยังถูกลอบทําร้ายจากมนุษย์ใจบาป

ผู้เขียนเคยเรียนถามในเรื่องนี้ ท่านตอบว่า

“ลูกเอ๊ย…มันเป็นกรรมนะ ต้องใช้กรรมเวร ยุติธรรมดีแล้ว แม้พระพุทธเจ้าของเราลูกเห็นไหม ? พระองค์บริสุทธิ์แค่ไหน พระองค์ยังต้องประสบในเรื่องเช่นนี้นะ

ฉะนั้น จงปล่อยไปตามกรรมที่ทําไว้แต่หนหลัง ปัจจุบันทําจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ก็พอแล้ว ทําอย่างไรหนอ จึงจะพ้นทุกข์นี้ไป ได้เท่านั้น…”

ความเป็นผู้ปฏิบัติดีของท่าน จึงมีคณะญาติโยมได้เข้าถวายที่ดิน ให้ท่านก่อสร้างวัดที่สมบูรณ์ขึ้น ชื่อ วัดป่าไตรวิเวก และ ท่านหลวงปู่สาม ได้อยู่จําพรรษาตั้งแต่ บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน

วัตถุมงคล ท่านอนุญาตให้ศิษยานุศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคล อาทิ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จัดสร้างเหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก และอีกหลายรุ่นในปีถัดมา เช่น พระกริ่งรูปเหมือน พระผงสมเด็จ พระผงรูปเหมือน เป็นต้น

วัตถุมงคลทุกรุ่นได้รับความนิยมสูง ทำให้พัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

 การมรณภาพ 

วันนี้สังขารสรีระของท่านล่วงไปแล้ว แต่สิ่งที่ทิ้งไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ประจักษ์ถึงความเป็นพระแท้พระจริงที่ชาวสุรินทร์ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บ่อยครั้งเกิดอาการอาพาธ ต้องเข้า-ออกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงปู่สามได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุรวม ๙๑ พรรษา ๗๑ ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก

โอวาทธรรม หลวงปู่สาม อกิญจโน

“..กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน..”

“..การภาวนาก็เป็นบุญ เป็นกุศลมากมาย ถ้าทำได้ทุกๆวัน ทำได้ เสมอไป ก็เป็นกุศลทุกวัน..”

“..ทุกคืน เราจะนอนก็ไหว้พระ ไม่ได้อะไรก็ทำสมาธิภาวนาไป ไหว้พระ ๓ ที ๑๐ ที พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะของตนแล้วก็นั่งสมาธิไป ภาวนาไป พุทโธ พุทโธ หลับตา นั่งนานๆ ไม่นานมากก็ ๕ นาที ๑๐ นาที ค่อยหัดไปทุกๆ วัน ดีกว่านอนเปล่าๆ ไม่มีอะไร..”

“..เรื่องเวรกรรม ลูกเอ๋ย มันเป็นกรรมนะ ต้องใช้เวรกรรมยุติธรรมแล้ว แม้พระพุทธเจ้าของเรา ลูกเห็นไหม พระองค์บริสุทธิ์แค่ไหน พระองค์ยังต้องประสบในเรื่องเช่นนี้ ฉะนั้น จงปล่อยไปตามกรรมที่ทำไว้แต่หนหลัง ปัจจุบันทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ก็พอแล้ว..”

“..การภาวนานั้น ตราบใดที่มีลมหายใจก็ทำได้ และควรจะทำทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องให้จิตอยู่ในจิต มีสติกำกับอยู่เสมอ..”

“..ฉะนั้นจงปล่อยไปตามกรรมที่ทำไว้แต่หนหลัง ปัจจุบันทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ก็พอแล้ว ทำอย่างไรหนดจึงจะพ้นทุกข์นี้ไปได้เท่านั้น..”

“..ธรรมของจริงก็อยู่กับบุคคลทุกคน เว้นไว้แต่ไม่ทำ ถ้าทำต้องมีทุกคนเพราะธรรมะเป็นของจริง ต้องทำจริงจึงจะเห็นธรรมะของจริง..”

“..จงปล่อยไปตามกรรมที่ทำไว้แต่หนหลัง ปัจจุบันทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ก็พอแล้ว ทำอย่างไรหนดจึงจะพ้นทุกข์นี้ไปได้เท่านั้น..”

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post