Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๒๘

พระภัททิยเถระ

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระภัททิยเถระ บังเกิดเป็นพระโอรสของนางศากยกัญญา ผู้ทรงพระนามว่า กาฬิโคธาราชเทวี อยู่ในกรุงกบิลพัศดุ์ พระนามว่า ภัททิยราชกุมาร เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้เสวยราชสมบัติสืบศากยวงศ์ ต่อมาภายหลังอนุรุทธกุมาร ผู้สหายได้มาชักชวนให้ออกบรรพชา  ในชั้นต้น ภัททิยราชกุมารไม่พอใจจะออกบวชด้วย แต่สุดท้ายก็จำเป็นต้องยอมบวช จึงได้ทูลลาพระมารดา สละราชสมบัติ เสด็จออกไปเฝ้าพระบรมศาสดา ที่อนุปิยนิคมแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระราชกุมารห้าพระองค์ คือ อนุรุทธะ, อานันทะ, ภคุ, กิมพิละ, และเทวทัตต์ นับอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลา(ช่างตัดผม) เข้าด้วยเป็น 7 ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย  ครั้นพระภัททิยะ ได้อุปสมบทแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท อุตส่าห์บำเพ็ญสมณธรรม ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตต์ในพรรษาที่บวชนั้น เมื่อท่านได้บรรลุพระอรหัตต์แล้ว ไม่ว่าจะไปอยู่ในที่ใด คือ ไปในป่าก็ดี อยู่ใต้ร่มไม้ก็ดี อยู่ในที่ว่างจากเรือนแห่งอื่น ๆ ก็ดี มักเปล่งอุทานในที่นั้นว่า “สุขหนอ ๆ” เสมอ ๆ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน ได้ฟังแล้ว จึงนำความไปกราบทูลพระศาสดาว่า ท่านพระภัททิยะอุทานอย่างนี้ คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ มัวนึกถึงราชสมบัติเป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัย พระบรมศาสดา รับสั่งให้หาพระภัททิยะมาเฝ้าแล้วตรัสถามว่า “ภัททิยะ ได้ยินว่า ท่านเปล่งอุทานอย่างนั้น จริงหรือ?” 
“จริงพระพุทธเจ้าข้า” “เพราะเหตุใด จึงได้เปล่งอุทานอย่างนั้น” ท่านภัททิยะกราบทูลว่า “เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้า เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต้องจัดการรักษาความปลอดภัย ทั้งภายในวัง และนอกวัง ทั้งภายในเมือง และนอกเมือง จนตลอดทั่วอาณาเขต ข้าพระพุทธเจ้า แม้มีคนมารักษาความปลอดภัยตัวอย่างนี้แล้ว ยังต้องหวาดกลัว สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ เดี๋ยวนี้ข้าพระพุทธเจ้า แม้ไปอยู่ป่า แม้จะอยู่ใต้ร่มไม้ แม้จะอยู่ในที่ว่างจากเรือนแห่งอื่น ๆ ก็ไม่กลัว ไม่หวาด ไม่รังเกียจ ไม่สะดุ้งแล้ว ไม่ต้องขวนขวาย มีขนเป็นปกติ ไม่ลุกชันเพราะความกลัว อาศัยอาหาร ที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีพมีใจดุจมฤคอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นอำนาจประโยชน์อย่างนี้แล้ว จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น ๆ”  พระบรมศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานชมเชยขึ้นในเวลานั้น  ท่านภัททิยะนั้นเกิดในตระกูลสูง ทั้งท่านก็ได้เป็นกษัตริย์ เสวยราชสมบัติแล้วด้วย ถึงอย่างนั้น ก็ยังสละราชสมบัติออกบวช ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้รับความสรรเสริญ จากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภัททิยโอรสของพระนางกาฬิโคธา เป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้มีตระกูลสูง(อุจจกุลิกานํ) ในศาสนาของเรา 

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post