Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระธาตุมหัศจรรย์ เเห่งพระพุทธศาสนา

โซนพิเศษ โลกียภูมิและโลกุตตรภูมิ

พระธาตุมหัศจรรย์ เเห่งพระพุทธศาสนา

พระธาตุมหัศจรรย์ เเห่งพระพุทธศาสนา

คำถาม ความสงสัยเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ และอื่น 

๑.พระธาตุเกิดขึ้นได้อย่างไร 

๒.มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร

๓.การเเปรสภาพพระธาตุของครูบาอาจารย์เป็นอย่างไร 

๔.เเปรสภาพพระธาตุจากส่วนในบ้าง 

๕.กระดูกคนทั่วไปสามารถเปรได้ไหม 

๖.การทดลองการสวดมนต์ใส่น้ำกับการพูดสิ่งไม่ดี แล้วเเช่เป็นน้ำเเข็งผลึกออกมาเป็นลักษณะเเตกต่างกันได้อย่าง (สารจากวารี)

๗.ประโยชน์ของการได้สักการะพระบรมสารีริกธาตุ 

๘.วิธีการบูชาพระธาตุ 

๙.พระธาตุเป็นสัญลักษณ์สื่่อถึงอะไร 

๑๐.องค์ประกอบการเกิด/เเปรสภาพเป็นพระธาตุ

๑๑.องค์ธรรมการปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้เป็นพระธาตุ
๑๒.โพธิปักขิยธรรม องค์ธรรมหัวใจเเห่งการบรรลุคุณวิเศษ มีอะไรบ้าง
๑๓.“ตราบใดที่ยังมีการปฏิบัติมรรคมีองค์เเปดประการ พระอรหันต์จะไม่สิ้นจากโลก”  มรรคมีองค์เเปดประการ มีอะไรบ้าง
๑๔. มรรคมีองค์เเปดประการ ปฏิบัติให้สอดคล้องกับศีล ๕ ได้อย่างไรบ้าง
๑๕. คุณสมบัติ ธรรมอันเป็นเครื่องเจริญอยู่(ละได้แล้ว)ของอริยบุคคล ๔ จำพวก ในสังโยชน์ ๑๐ เป็นอย่างไร
๑๖. “สันทิฏฐิโก อกาลิโก โอปนยิโก ปัจจัตตัง”เป็นอย่างไร 

๑๗. ถ้าภาวนาสมถะไม่สบง จะเจริญวิปัสนาเลยได้ไหม ต้องรอให้สบงขนาดไหนจิตจึงจะควรคู่กับการงานทางใจ
๑๘. อันตรธาน ๕ กับทิศทางพระพุทธศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาล
๑๙.ความมหัศจรรย์ของพระบรมสารีริกธาตุกับ การเสด็จมาเพิ่มจำนวน ขยายตัว เปลีี่ยนสี เพราะอะไร
๒๐. การเผยเเผ่พระพุทธศาสนายุคปัจจุบัน ต้องรบกับตัวเอง รบกับพุทธบริษัทที่ตัดขากันเอง รบกับต่างศาสนา พระสงฆ์ในยุคปัจจุบันต้องมี กลยุทธ หลักการ วิธีการ อุดมการณ์ ในการประกาศพระพุทธศาสนาอย่างมาก กว่ายุคก่อน 

๒๑. ครูบาอาจารย์บางรูป เคยมีอธิกรณ์กันและกัน ไม่ยอมรับคุณธรรมกันและกัน มีคำถามว่า เอามาให้สักการะได้อย่างไร เพราะเหตุไร

๒๒.

เขียนเพิ่มเติมได้ วันไหนว่า จะได้เพิ่มคีย์เวิร์คคำตอบเเต่ละข้อ 

ความหมายของพระบรมสารีริกธาตุ

       คำว่า “พระบรมสารีริกธาตุ” หมายถึงกระดูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า “พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ” นี้ ตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า “Relic” ซึ่งตรงกับภาษาลาตินว่า “Reliquiae” แปลว่า ส่วนที่เหลืออยู่ (Remains) เผ่าชนทั้งหลายในอดีตถือว่า กระดูกคนเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ลัทธิถือผีสางเทวดา(Shamanism)นิยมเก็บกระดูกคนไว้ ประเพณี นิยมในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะในยุคของพระพุทธเจ้าองค์ไหน นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรมาจนถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม การเก็บ กระดูก (อัฐิ หรือเป็นกระดูกของคนบริสุทธิ์ก็นิยมเรียกว่า พระธาตุบ้าง พระสารีริกธาตุบ้าง พระบรมสารีริกธาตุบ้าง) ไว้บูชาสักการะปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เพราะฉะนั้น ก็จะมีข้อความในคัมภีร์กล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพานไปแล้ว ๔ อย่าง คือ

      ๑. ธาตุเจดีย์ คือ พระบรมสารีริกธาตุ

      ๒. บริโภคเจดีย์ คือ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล

      ๓. ธรรมเจดีย์ คือ จารึกข้อพระธรรม

      ๔. อุเทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูป ธรรมจักร รอยพระพุทธบาท พระแท่นวัชรอาสน์ หรือสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า

      สรุปได้ในที่นี้ว่า สิ่งที่ควรบูชาสักการะสูงสุดของชาวพุทธคือเจดีย์ ๔ ประเภทดังกล่าว โดยเฉพาะธาตุเจดีย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง การหายไปของ พระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุเป็นเครื่องแสดงถึงความเสื่อมของศาสนาอย่างหนึ่ง เรียกว่า “ธาตุอันตรธาน” แต่การหายไปของธาตุที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงว่าพระธาตุ หรือพระบรมสารีริกธาตุนั้นหายไปจากโลกนี้ เป็นเพียงการหายไปจากที่หนึ่งที่คนไม่นิยมปฏิบัติธรรมแล้วไปปรากฏในอีกที่หนึ่งที่คนนิยมปฏิบัติธรรม หรืออาจไม่ปรากฏในที่ไหนเลยจนกว่าจะมีคนปฏิบัติธรรม จึงจะปรากฏให้เห็นเหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไม่มีการบูชาสักการะ พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ ตำนานบอกว่า ถ้าทั่วทุกหนทุกแห่งไม่มีผู้บูชาสักการะเลย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายจากมนุษยโลก เทวโลก และภพพญานาค จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด รวมกัน เป็นรูปพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐาน ณ โคนต้นพระมหาโพธิ์นั้น ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ แต่ไม่มีมนุษย์คนใดหรือสัตว์โลกตนใดเห็นพระองค์เลย 

      เพราะฉะนั้น คำว่า “ธาตุอันตรธาน” ไม่ได้หมายถึงว่า ธาตุสูญสิ้นไป จากโลก แต่หมายถึงหายไปไม่ปรากฏให้เห็น พระพุทธดำรัสที่ตรัสกับ พระอานนท์คราวหนึ่งว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้น เห็นธรรม” ถ้าจะอธิบายในอีกลักษณะหนึ่งก็ได้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญ คุณความดี มีคุณธรรมประจำใจ ก็จะเห็นพระพุทธเจ้า คำว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” มี ๒ นัย 

นัยที่ ๑ หมายถึงว่า ขณะที่พระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ คนที่อยู่ห่างไกลประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็ได้ แต่ให้ผู้นั้นปฏิบัติธรรม ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา พระพุทธเจ้าก็จะเปล่งรัศมีมี ๖ สีไปแสดงพระองค์ปรากฏต่อหน้าผู้นั้น นี่คือนัยของคำว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” 

         นัยที่ ๒ หมายถึงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไปแล้ว ผู้ประสงค์จะเห็นพระพุทธเจ้า ขอให้อธิษฐานจิตบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กล่าวคำอธิษฐานขอให้พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา ณ ภาชนะหรือสถานที่เหมาะสมซึ่งจัดเตรียมเอาไว้ เมื่อทำความดีถึงขั้น พระบรมสารีริกธาตุก็จะเสด็จมาตามที่ปรารถนา

ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ สารนาท สถานที่แสดงปฐมเทศนา กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน”

สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบลนี้นับเป็นบริโภคเจดีย์ที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา

ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระคถาคตเจ้า”  

๒ ลักษณะและพรรณะของพระบรมสารีริกธาตุ 

      ลักษณะสี สัณฐาน และขนาดของพระธาตุ/พระบรมสารีริกธาตุมีหลากหลาย มีลักษณะเป็นมันเลื่อมสีต่าง ๆ มีสีทองอุไรบ้าง สีขาวใสดังแก้วผลึกบ้าง สีดอกพิกุลแห้งบ้าง มีสัณฐานต่าง ๆ เช่น กลม ยาวรี เสี้ยว เป็นเหลี่ยม มีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วหัก ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุมีลักษณะและสัณฐานหลากหลายตามที่กล่าวในตำราโบราณ พอกล่าวไว้เป็นตัวอย่างดังนี้    

พระบรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า)ขนาดใหญ่ ประมาณเท่าเมล็ด ถั่วหัก ทรงพระบวรสัณฐานเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร พระบรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า)ขนาดกลาง ประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ทรงพระบวรสัณฐานเหมือนหนึ่งพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย พระบรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า)ขนาดกลาง ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณดอกบุปผาชาติพิกุลอดุลสีใส

ความหลากหลายด้านลักษณะ สี สัณฐานของพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุ อาจขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สภาพทางกาย ลักษณะพิเศษทางจิตของพระอรหันต์ หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ หรือปฏิกิริยาทางเคมีอย่างอื่น นอกจากนี้ น่าจะเกี่ยวเนื่องกับอายุของพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุแต่ละองค์ด้วย ซึ่งบางองค์อาจมีอายุเป็นหมื่นชาติแสนชาติ ในคัมภีร์เถรวาทกล่าวถึงพระนามของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ยังคงสถิตอยู่ในโลก ไม่รวมพระธาตุ(หรือพระอรหันตธาตุ)ของพระสาวก สาวิกาซึ่งมีจำนวนมาก

 ๓ พระบรมสารีริกธาตุ ๒ ประเภท     

๑. พระบรมสารีริกธาตุไม่แตกกระจาย พระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แตกกระจายมี ๗ ส่วน คือ พระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒ และพระอุณหิสหรือส่วนพระนลาฏ ๑ คำว่า “ไม่แตกกระจาย” หมายถึงยังความเป็นรูปร่าง เป็นแท่ง หรือเป็นกลุ่มก้อนสมบูรณ์ ไม่มีส่วนไหนหักบิ่นไป กล่าวคือก่อนที่ร่างกายจะถูกเผา พระเขี้ยวแก้วเป็นต้นนี้มีรูปร่างอย่างใด หลังจากร่างถูกเผาแล้ว พระเขี้ยวแก้วนี้ก็ยังมีรูปร่างอย่างนั้น    

๒. พระบรมสารีริกธาตุแตกกระจาย พระบรมสารีริกธาตุที่แตกกระจาย คือ ส่วนอื่นนอกเหนือจาก ๗ ส่วนที่กล่าวไว้ในในข้อ ๑ จะไม่เหลือส่วนที่เด่นชัด ขนาดเล็กสุดเท่าเมล็ดพรรณผักกาด ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเหลือง คำว่า “แตกกระจาย” หมายถึง ไม่มีความเป็นรูปร่าง เป็นแท่ง หรือเป็นกลุ่มก้อนเหมือนเดิม มีบางส่วนหักบิ่นไป กล่าวคือก่อนที่ร่างกายจะถูกเผา พระธาตุนี้มีรูปร่างสมบูรณ์ แต่หลังจากร่างถูกเผาแล้ว ก็สูญเสียความสมบูรณ์ไป

กรณีของพระโดคมพุทธเจ้ามีลักษณะพิเศษมากกว่าพระพุทธเจ้าองค์อื่น กล่าวคือ แม้ในคัมภีร์ จะบอกว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แตกกระจายไปในนานาประเทศ และ มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ตั้งแต่สมัยที่โทณพราหมณ์แจกจ่าย รวมทั้งสิ้น ๘ แห่ง คือ

       ๑. พวกเจ้าลิจฉวี ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงเวสาลี

       ๒. พวกเจ้าศากยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงกบิลพัสดุ์

       ๓. พวกเจ้าถูลี ทรงสร้างสถูปบรรจุที่เมืองอัลลกัปปะ

       ๔. พวกเจ้าโกลิยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุที่เมืองรามคาม

       ๕. มหาพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุที่เมืองเวฏฐทีปกะ

       ๖. พวกเจ้ามัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างสถูปบรรจุที่เมืองปาวา

       ๗. พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงราชคฤห์

       ๘. พวกเจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารา ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงกุสินารา

       พวกเจ้าโมริยะ ได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ส่งทูตมา ภายหลังจึงได้รับมอบพระอังคาร(เถ้า)ไป ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป)ที่เมืองปิปผลิวัน ส่วนโทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนาน ตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า “ตุมพะ” แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกว่าสถูปนี้ว่า “ตุมพสถูป”)

       ในขณะเดียวกัน ในคัมภีร์ก็มีการกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แตกกระจาย ๗ ประเภทไว้ด้วย คือ

       ๑. พระเขี้ยวแก้ว๑บนด้านขวา (บน+ขวา)ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

       ๒. พระเขี้ยวแก้วบนด้านซ้าย (บน+ซ้าย)ประดิษฐาน ณ คันธารบุรี (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดหลิงกวง ประเทศจีน)

       ๓. พระเขี้ยวแก้วล่างด้านขวา (ล่าง+ขวา)ประดิษฐาน ณ แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ประเทศ ศรีลังกา)

       ๔. พระเขี้ยวแก้วล่างด้านซ้าย (ล่าง+ซ้าย)ประดิษฐานอยู่ในดินแดนของพระราชาเผ่านาค

       ๕. พระรากขวัญ(ไหปลาร้า)ด้านซ้ายและพระอุณหิส (หน้าผาก) ประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก

       ๖. พระรากขวัญด้านขวา ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์       ๗. พระทนต์ ๔๐ ซี่ พระโลมา(ขน)ทั่วพระวรกาย(๙๐,๐๐๐ เส้น) และพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๒๐ เทพยดาในหมื่นจักรวาลนำไปบูชาในจักรวาลของตน 

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ

   คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้

 ๑. มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ

 ๒.มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ

 ๓.หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ    

๔.สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ 

๕.เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้ ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post