Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

โซนพิเศษ โลกียภูมิและโลกุตตรภูมิ

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

ชื่ออื่น หลวงตาบัว,หลวงตามหาบัว

เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ.2456 (97 ปี)

มรณภาพ 30 มกราคม พ.ศ.2554

นิกาย ธรรมยุติกนิกาย

การศึกษา นักธรรมชั้นเอก,เปรียญธรรม 3 ประโยค

ที่อยู่ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

อุปสมบท 12 พฤษภาคม พ.ศ.2477

พรรษา 77 พรรษา

ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด)

พระธรรมวิสุทธิมงคล,วิ. นามเดิม บัว โลหิตดี ฉายา ญาณสมฺปนฺโน,ป.ธ.3 หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงตามหาบัว หรือ หลวงตาบัว (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 – 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุดรธานี เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) เป็นวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย ศิษย์ของพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ซึ่งมีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา

หลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มีปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นต้น

หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2540 หลวงตามหาบัวได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในและนอกประเทศ จากการที่ท่านได้ดำเนินการทอดผ้าป่าทองคำและเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ชื่อ “โครงการผ้าป่าช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน” เพื่อใช้เป็นทุนสำรองของประเทศไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการมาโดยตลอดในช่วงปัจฉิมวัยของท่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปัจฉิมวัยนี้เองได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่าท่านเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองจากนักวิชาการและนักสื่อสารมวลชนจำนวนหนึ่ง เช่น ประเด็นการคัดค้านการรวมบัญชีเงินทุนสำรองของประเทศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นการคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสงฆ์ฉบับใหม่ และการเทศนาวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร ครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีช่วง พ.ศ. 2548 เป็นต้น

ประวัติ

ชาติกำเนิด

พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัว เดิมมีชื่อว่า “บัว โลหิตดี” เกิดวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีฉลู ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี บิดาของหลวงตามหาบัวชื่อ ทองดี โลหิตดี มารดาของหลวงตามหาบัวชื่อ แพงศรี โลหิตดี (ได้บวชเป็นชี) และ มีพี่น้องทั้งหมด 16 คน หนึ่งในนั้น คือ จันดี โลหิตดี (ได้บวชเป็นชีพราหมณ์) ในวัยเด็กท่านเป็นคนที่เลื่อมใสในศาสนาพุทธ โดยได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

อุปสมบท

เมื่อท่านอายุครบอุปสมบทแล้ว บิดาและมารดาของท่านปรารถนาให้ท่านบวชด้วยหวังพึ่งใบบุญ แต่ท่านก็ไม่ตอบรับ ทำให้บิดาและมารดาของท่านถึงกับน้ำตาไหล ท่านจึงกลับพิจารณาออกบวชอีกครั้ง ที่สุดจึงตัดสินใจออกบวชโดยท่านกล่าวกับมารดาว่า “เรื่องการบวชจะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้วจะสึกเมื่อไหร่ก็สึก ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ” ซึ่งมารดาก็ตกลงตามที่ท่านขอ

ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ที่วัดโยธานิมิตร ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้ฉายานามว่า “ญาณสมฺปนฺโน” แปลว่า “ถึงพร้อมแล้วด้วยญาณ” ท่านมีความเคารพเลื่อมในเรื่องการภาวนาและกรรมฐาน ท่านได้สอบถามวิธีการภาวนาจากพระอุปัชฌาย์ของท่านและได้รับการแนะนำให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ท่านจึงปฏิบัติภาวนาและเดินจงกรมเป็นประจำ

เรียนปริยัติ

ระหว่างนั้นท่านเริ่มเรียนหนังสือทางธรรมและศึกษาเกี่ยวกับพุทธประวัติ รวมทั้งพุทธสาวก โดยหลังจากพุทธสาวกเหล่านั้นได้รับพระโอวาทจากพระพุทธเจ้าแล้วจะเดินทางไปบำเพ็ญในป่าอย่างจริงจังจนสำเร็จอรหันต์ ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสและตั้งใจปฏิบัติเพื่ออรหัตผลให้ได้ จึงตั้งสัจอธิษฐานว่า เมื่อเรียนจบเปรียญธรรม 3 ประโยคแล้วจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว

อย่างไรก็ตาม ท่านยังสงสัยว่า ถ้าท่านดำเนินตามแนวทางปฏิบัติตามพระสาวกเหล่านั้น จะสามารถบรรลุถึงจุดที่ท่านเหล่านั้นบรรลุหรือไม่ และมรรคผลนิพพานจะมีอยู่เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่ ความสงสัยเหล่านี้ทำให้ท่านมุ่งหวังได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งท่านเชื่อมั่นว่าท่านอาจารย์มั่นจะสามารถไขปัญหานี้ให้ท่านได้ท่านเดินทางศึกษาพระปริยัติในหลายแห่ง อาทิ วัดสุทธจินดาวรวิหารจังหวัดนครราชสีมาวัดบรมนิวาสราชวรวิหารกรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระมหาวีร

วงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรม จากนั้น ท่านเดินทางไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เวลานั้นพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านได้อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ขอให้ไปจำพรรษาที่จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์มั่นรับนิมนต์นี้และได้เดินทางมาพักที่วัดเจดีย์หลวงชั่วคราวจึงทำให้ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ครั้งแรก ท่านศึกษาทางปริยัติที่วัดแห่งนี้ จนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยคใน พ.ศ. 2484 นับเป็นปีที่ท่านบวชได้ 7 พรรษา

ปฏิบัติกรรมฐาน

หลังสำเร็จการศึกษาทางปริยัติ ท่านเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมาเพื่อปฏิบัติกรรมฐานได้ระยะหนึ่ง จึงเดินทางไปจังหวัดสกลนครโดยตั้งใจไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์มั่นรับท่านเป็นลูกศิษย์และได้พูดขึ้นว่า

…ท่านมหามรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน? ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ฟ้าอากาศเป็นฟ้าอากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลจริง ๆ อยู่ที่ใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ ท่านจะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมของทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ แล้วขณะเดียวกัน ท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ…

มั่น ภูริทัตโต

คำกล่าวนี้ทำให้ท่านเชื่อมั่นว่ามรรคผลนิพพานมีจริงและเชื่อมั่นพระอาจารย์มั่นที่ไขข้อข้องใจได้ตรงจุด ท่านรักษาระเบียบวินัยข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด

หลังจากศึกษาอยู่กับพระอาจารย์มั่นในพรรษาที่ 2 ท่านเริ่มหักโหมความเพียรในการปฏิบัติกรรมฐาน จนผิวหนังบริเวณก้นช้ำระบมและแตกในที่สุด พระอาจารย์มั่นเตือนว่า “กิเลสมันไม่ได้อยู่กับร่างกายนะ มันอยู่กับจิต” ซึ่งท่านก็น้อมรับคำเตือนของพระอาจารย์มั่นทันที

อย่างไรก็ตาม ด้วยจริตนิสัยของท่านเรื่องการภาวนานั้นถูกกับการอดอาหารเพราะทำให้ธาตุขันธ์เบาสบาย การตั้งสติทำสมาธิภาวนาก็ง่าย และช่วยให้การบำเพ็ญจิตภาวนาเจริญขึ้นได้เร็วกว่าขณะที่ออกฉันตามปกติ แม้มีผู้คัดค้านก็ไม่ทำให้ท่านเปลี่ยนใจได้ ด้วยท่านพิจารณาแล้วว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุอดอาหารเพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาได้ แต่ไม่ใช่เพื่อการโอ้อวดหรืออดเพียงอย่างเดียวโดยไม่ฝึกฝนด้านจิตภาวนาเลยซึ่งไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น ท่านจึงใช้อุบายนี้เพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาเรื่อยมา

ในพรรษาที่ 10 ท่านฝึกสมาธิจนมั่นคงหนักแน่นและสามารถอยู่ในสมาธิได้เท่าไหร่ก็ได้ ท่านมีความสุขอย่างยิ่งจากที่จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ท่านติดอยู่ในขั้นสมาธิอยู่ถึง 5 ปี โดยไม่ก้าวหน้าสู่ขั้นปัญญา จนกระทั่ง พระอาจารย์มั่นจึงให้อุบายเพื่อให้ท่านออกพิจารณาทางด้านปัญญาและเตือนท่านว่า “…สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ

ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธินอนตายอยู่นี่หรือเป็นสัมมาสมาธิ…” ท่านจึงออกจากสมาธิและพิจารณาทางด้านปัญญาต่อไป

ท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 แรม 14 ค่ำ เดือน 6 เวลา 5 ทุ่มตรง บนหลังเขาซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร

ก่อตั้งวัดป่าบ้านตาด

ด้วยเหตุที่โยมมารดาของท่านล้มป่วยเป็นอัมพาต ท่านจึงพาโยมมารดากลับมารักษาตัวที่บ้านตาดอันเป็นบ้านเกิด หลังรักษาตัวหายขาดแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่าโยมมารดาของท่านก็อายุมากแล้ว จะพาไปอยู่ในถิ่นทุรกันดารเพื่อการปลีกวิเวกตามนิสัยของท่านจะทำให้โยมมารดาลำบาก ประจวบกับเวลานั้นชาวบ้านตาดมีความประสงค์ให้ท่านตั้งวัดขึ้นที่นั่นเช่นกัน โดยชาวบ้านร่วมกันถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัด ดังนั้น วัดป่าบ้านตาดจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยให้ชื่อว่า “วัดเกษรศีลคุณ”

มรณภาพ

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศแก่พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) บนศาลาการเปรียญวัดป่าบ้านตาด

พระธรรมวิสุทธิมงคล อาพาธลำไส้อุดตัน และมีปอดติดเชื้อมานานกว่า 6 เดือน คณะแพทย์ถวายการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างกุฏิปลอดเชื้อให้แก่พระเดชพระคุณ แต่อาการอาพาธไม่ดีขึ้น จนเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 02.49 น. ตรวจพบสมองของพระเดชพระคุณหยุดทำงานใน ต่อมา ตรวจพบม่านตาขยายไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ออกซิเจนในเลือดเป็น 0 จากนั้นเวลา 03.53 น. ความดันโลหิตมีค่าเป็น 0 หัวใจหยุดเต้นและหยุดการหายใจ จึงเป็นอันมรณภาพ สิริอายุได้ 97 ปี 5 เดือน 18 วัน 77 พรรษาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานพิธีถวายน้ำหลวงสรงศพพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) และทรงวางพวงมาลาหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร), สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พวงมาลาส่วนพระองค์ และพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานโกศโถและทรงรับพระพิธีธรรมไว้ในพระบรม

ราชานุเคราะห์ 7 วัน และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ประทานบำเพ็ญพระราชกุศล 1 วัน โดยโปรดให้พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม) ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนพระองค์เดินทางมาร่วมประกอบพิธีธรรม จากนั้นจึงเปิดให้พ่อค้า ประชาชน ส่วนราชการต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพตลอดไป

ส่วนพินัยกรรมที่ท่านเขียนตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 นั้น สรุปความได้ว่า ให้นำทองคำที่ได้รับบริจาคไปหลอม ส่วนเงินสดที่ได้รับบริจาคให้นำไปซื้อทองคำ แล้วนำมาหลอมรวมและมอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นทุนสำรองเงินตราของฝ่ายบำบัดธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่มีเจตนาให้ใช้ในงานอื่น โดยตั้งพระสุดใจ ทนฺตมโน รองเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด เป็นผู้จัดการมรดก รวมทั้งตั้งคณะกรรมการจัดงานศพและจัดการดูแลทรัพย์สินทั้งปวงอีก 9 คน

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post