Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๔๘

พระกุมารกัสสปเถระ

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระกุมารกัสสปเถระ บังเกิดเป็นบุตรของธิดาเศรษฐี ในพระนครราชคฤห์ เดิมชื่อว่า กัสสปะ ภายหลัง ชนทั้งหลายเรียกว่า กุมารกัสสปะ เพราะเจริญขึ้น ด้วยเครื่องบำรุงเลี้ยงอย่างราชกุมาร หรือเพราะพระศาสดา เคยตรัสเรียกเช่นนี้ เพื่อให้แตกต่างจากกัสสปะองค์อื่นๆ มารดาของท่าน มีความปรารถนา อยากจะบวชตั้งแต่แรกรุ่นยังสาว ได้อ้อนวอนขออนุญาตจากบิดาอยู่บ่อยๆ มารดาบิดาไม่ยอมอนุญาต ต่อมานางมีสามี ตั้งครรภ์ขึ้นยังไม่ทันรู้ตัว นางปฏิบัติสามี ให้มี ความยินดีแล้ว ก็อ้อนวอนขอบรรพชา ครั้นเมื่อสามีอนุญาตแล้ว ได้ไปบวชอยู่ในสำนักของนางภิกษุณี ซึ่งเป็นฝ่ายของพระเทวทัตต์ ภายหลัง นางมีครรภ์แก่ปรากฏ ขึ้น พวกนางภิกษุณีได้เห็น เกิดความรังเกียจ จึงได้นำนางไปหาพระเทวทัตต์ ให้ตัดสินชำระอธิกรณ์ พระเทวทัตต์ตัดสินว่า ภิกษุณีนี้ ไม่เป็นสมณะ ให้สึกเสีย นางได้ฟัง คำพระเทวทัตต์แล้ว เกิดความเสียใจจึงพูดว่า พวกท่าน อย่าให้ดิฉันฉิบหายเสียเลย ดิฉันไม่ได้บวชมุ่งหมายพระเทวทัตต์ ขอพวกท่าน จงพาดิฉันไปสู่สำนักพระบรม ศาสดา ที่พระเชตวันมหาวิหารเถิด พวกนางภิกษุณี จึงได้พานางไปสู่สำนักของพระบรมศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระบรมศาสดาทรงทราบว่า นาง ภิกษุณี ตั้งครรภ์แต่เมื่อยังไม่บวช แต่เพื่อจะปลดเปลื้องความสงสัยของชนเหล่าอื่น จึงรับสั่งให้พระอุบาลี ชำระอธิกรณ์เรื่องนี้ และให้ไปเชิญตระกูลใหญ่ๆ ใน พระนคร สาวัตถี มีนางวิสาขา และอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น มาพร้อมกันแล้วร่วมกันพิสูจน์ ก็รู้ชัดว่านางมีครรภ์ ตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้บวช จึงได้ตัดสิน ในท่ามกลาง บริษัท 4 ว่า นางภิกษุณีนี้ ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ พระบรมศาสดาตรัสอนุโมทนาสาธุการว่า อุบาลีตัดสินอธิกรณ์ถูกต้องแล้ว เมื่อนางภิกษุณีนั้นมีครรภ์ครบกำหนดแล้ว ก็คลอดบุตร ออกมาเป็นชาย เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทราบ ได้ทรงรับเอาไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรมและให้นามว่า กัสสปะทารกนั้น เจริญวัยขึ้นด้วยเครื่องบำรุง เลี้ยงอย่าง ราชกุมาร ชนทั้งหลายจึงได้เรียกว่า กุมารกัสสปะ”  ต่อมากุมารกัสสปะเกิดความสลดใจ เมื่อได้ทราบความเป็นมาตอนเกิดของตน จึงขอพระบรมราชานุญาตออก บวช พระองค์ก็ทรงอนุญาต ได้พาไปบวชในสำนักของพระบรมศาสดา ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ตามวินัยนิยมแล้ว ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ในพระพุทธศาสนา อุตส่าห์เรียนเอาพระกร

รมฐาน ในสำนักพระบรมศาสดา เข้าไปสู่ป่า เพียรพยายาม ก็ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ จึงกลับมาเรียนพระกรรมฐานเพิ่มเติม แล้วไปอยู่ที่อันธวัน วิหาร ท่านพระกุมารกัสสปะ ได้ฟังปัญหาพยากรณ์ 15 ข้อในสำนักพระบรมศาสดาแล้ว ในที่สุดแห่งการพยากรณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา  ท่าน มีความสามารถแสดงธรรม แก่บริษัทสี่ได้อย่างวิจิตรพิสดาร มีข้ออุปมาอุปไมย พร้อมทั้งเหตุผล ให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ฉลาดในอุบายสั่งสอนบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ ท่านแสดงสูตร ประดับด้วยปัญหา 15 ข้อ แก่พระเจ้าปายาสิ จนสามารถทำลายมิจฉาทิฏฐิ ของพระองค์ได้สำเร็จ อาศัยคุณสมบัติเช่นนี้ ท่านจึงได้รับยกย่องจาก พระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในจิตรกถา คือ แสดงธรรมเทศนา ได้อย่างวิจิตรในพระศาสนานี้ (จิตฺตกถิกานํ)

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post