Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน

โซนที่ ๙ มหายาน

พุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน

โซนที่ ๙ มหายาน

พุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน

ประเภทของพระนิพพาน 

การเเบ่งประเภทของพระนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือ ที่เเบ่งเป็นนิพพานธาตุ ๒ ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ ได้เเก่ 

       ๑.สอุปาทิเสสนิพพานธาตฺ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือ นิพพานยังมีเชื้อเหลือ 

        ๒.อนุปาทิเสสนิพพานธาติ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่มีเชื้อเหลือ

สิ่งที่เป็นเกณฑ์เเบ่งประเภทในที่นี้คือ “อุปาทิ” ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่าได้เเก่สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง หรือสภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้ มั่นหมายถึง เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕ ) เมื่อถือความตามคำอธิบานนี้จึงได้ความหมายว่า 

       ๑.สอุปทิเสสนิพพานธาตุ ได้เเก่ นิพพานยังมีเบญจันธ์เหลือหรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์

       ๒.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุได้เเก่นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือหรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจะขันธ์

 เเท้จริงพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคาองค์อรหันต์ได้ตรัสไว้ ข้าพเจ้าได้สดีบมาดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ กล่าวคืนสอุปทานนิพพานธานตืเเละอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย สอุปทานิเสสนิพพานธาติ เป็นไฉน?  ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะเเล้ว อยู่จบพรมจรรย์เเล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จเเล้ว ปลงภาระเเล้วลงได้เเล้ว บรรลุประโยชน์ตนเเล้ว มีสังโยชนเครื่องผูกมัดไว้กับถพหมดสิ้นไปเเล้ว หลุดพ้นเเล้วเพราะรู้ชอบ,อินทรีย์ ๕ ของเธอยังดำรงอยู่เที่ยว เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหาย เธอย่อมได้เสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจเเละไม่พึงใจ ย่อมเสวยทั้งสุขเเละทุกช์ : อันใดที่เป็นความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะของเธอ , อันนี้เรียกว่า สอุปาทิเสส-นิพพานธาตุ”

“นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ พระผู้ทรงจักษุ ผู้คงที่ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ได้ทรงประกาศไว้เเล้ว (คือ) นิพพานธาตุเเท้ (คือ) นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง เป็นทิภูฐ- ธัมมิกะ (มีให้ในปัจจุบีนหรือทันตาเห็น) ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่งเป็นสัมปรายิกะ (มีในเบื้องหน้า หรือเป็นของล่้ำ)เป็นทั้งภพทั้งหลายดับไปหมดสิ้น ชื่อว่า อนุปาทิเสส

สำหรับเนื้อหาในโซน 9 ในส่วนที่เป็นพระพุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน ได้คัดย่อเนื้อหามาจาก หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

พุทธพจน์เกี่ยวกับนิพพาน

วิหารพระโพธิสัตว์และพุทธศาสนานิกายมหายาน

พุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดียเนปาลจีนญี่ปุ่นเกาหลีเวียดนามมองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกายปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน

มหายาน (สันสกฤต: महायान, อักษรจีน: 大乘; ญี่ปุ่น: 大乗; เวียดนาม: Đại Thừa; เกาหลี: 대승) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต มหา + ยาน แปลว่า พาหนะที่ใหญ่ เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า หีนยาน ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า “ยานที่สูงสุด” ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระนิพพาน และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุนะ ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง และชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย” อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่สาวกภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยาน หรือ พุทธยาน

สรุปแล้ว ยานในพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 3 คือ (ตามมติของฝ่ายมหายาน)

1.   สาวกยาน (เซียบุ่งเส็ง) คือยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า

2.   ปัจเจกยาน (ตกกักเส็ง) คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้

3.   โพธิสัตวยาน (พู่สักเส็ง)  คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ  ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า 2 ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนย์ตาธรรม

พัฒนาการของพุทธศาสนานิกายมหายาน

มูลเหตุของการแยกนิกายในพุทธศาสนา

หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี

ในกาลต่อมาต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เกิดการสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด อย่างไรก็ตาม การสังคายนาแต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดในหมู่สงฆ์ จนก่อให้เกิดการแยกฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันในส่วนหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ

กล่าวกันว่า มูลเหตุของการแยกนิกายในพุทธศาสนามาจากในคราวใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) พุทธดำรัสดังกล่าวไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดมีปัญหาในการตีความว่า สิกขาบทไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับการสังคายนาครั้งหลังๆ อีกหลายครั้ง เป็นเหตุให้มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย แต่ก็มิได้ถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด

การก่อตัวของพุทธศาสนานิกายมหายาน

หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 100 ปี อันเป็นช่วงเวลาที่มีการสังคายนาครั้งที่ 2 ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหาสังฆิกะ ซึ่งมีจำนวนมาก ได้แยกตนออกไปต่างหากจากกลุ่มเถรวาทเดิม การแยกตัวของมหาสังฆิกะนี้มีมูลเหตุจากความเห็นที่แตกต่างเรื่องหลักปฏิบัติของภิกษุ หลังจากนั้นมหาสังฆิกะได้แยกกลุ่มนิกายย่อยออกไปอีก 18 นิกาย เนื่องจากมีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นภิกษุบางรูปในนิกายทั้ง 18 นี้ ได้แยกตนออกมาตั้งคณะใหม่โดยถือปรัชญาและหลักจริยวัตรของตน กระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 5 จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เรียกตนเองว่า “มหายาน” ขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าพัฒนาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง 18 นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดเป็นลัทธิมหายาน

แม้ไม่อาจกำหนดให้แน่ชัดลงไปได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัดคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ  ทางอินเดียตอนเหนือ (ศตวรรษที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานอย่างมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชของฝ่ายเถรวาท

คณาจารย์คนสำคัญของนิกายมหายาน

พระอัศวโฆษ
         พระเถระอัศวโฆษ เป็นชาวเมืองสาเกต นิกายสรวาสติวาท เป็นจินตกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ท่านได้แต่งหนังสือเรื่อง “พุทธจริต” เป็นการพรรณนาถึงพุทธประวัติ

พระนาคารชุน 
         พระนาคารชุนมีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 7 ท่านเกิดในวรรณพราหมณ์ในอินเดียตอนใต้ มีความรอบรู้ทั้งเถรวาท และมหายาน เป็นอย่างดี พระนาคารชุนได้แต่งหนังสือเด่นมาก คือ “ปรัชญาปารมิตาสูตร”

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post