Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
โซนที่ ๖

บัว 4 เหล่าและภาพ 3 มิติ

โซนที่ ๖

บัว 4 เหล่าและภาพ 3 มิติ

โซนที่ ๖

บัว 4 เหล่าและภาพ 3 มิติ

บัวสี่เหล่าในที่นี้มีความหมายถึงบุคคล 4 จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู ผู้เข้าใจได้ฉับพลัน, วิปจิตัญญู ผู้เข้าใจต่อเมื่อขยายความ, เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำได้ และ ปทปรมะ ผู้ที่ยังไม่สามารถแนะนำให้บรรลุมรรคผลได้ นอกจากนี้โซนนี้ยังมีมุมภาพ 3 มิติ สำหรับถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ประกอบด้วยภาพพระพุทธเจ้าเสด็จบิณฑบาต, ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ และภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงรับคำทูลอาราธราของพรหม และเพราะอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อทรงตรวจด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในตาน้อย ผู้มีธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าน สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี มีอุปมาเหมือนในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณพริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในตาน้อย มีธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัวก็มี ฉันนั้น ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า

“สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราได้เปิดประตูอมตธรรม แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ท่านพรหมเพราะเราสำคัญว่า จะลำบากจึงมิได้ แสดงธรรมที่ประณีตคล่องแคล่วในหมู่มหนุษย์”

วินย.ม. ๔/๙/๑๑

บุคคล ๔ จำพวก: ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทั้ง ๔ นี้มีปรากฎอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ

อุคฆฏิตัญญ (ผู้เข้าใจได้ฉับพลัน)

หมายถึง ผู้บรรลุธรรมอริยสัจ ๔ ได้เร็ว คือ พอยกหัวข้อขึ้นแสดงเท่านั้น

วิปจิตัญญู (ผู้เข้าใจต่อเมื่อขยายความ)

หมายถึง ผู้ที่บรรลุธรรมเมื่อเขาอธิบายเนื้อความโดยพิสดาร คือเมื่อยกหัวข้อขึ้นกล่าวโดยย่อแล้ว กล่าวโดยพิสดารจึงสามารถบรรลุพระอรหันตผลได้

เนยยะ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้)

หมายถึง บุคคลที่มนสิการโดยแยบคาย โดยการแสดง โดยการถาม การเสพ การคบหา การเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตรจึงบรรลุธรรมโดยลำดับ

ปทปรมะ (ผู้ที่สอนให้รู้ได้เพียงตัวบทคือพยัญชนะ)

หมายถึง บุคคลที่ฟังไว้มาก แสดงไว้มาก และพูดไว้มาก แต่ไม่บรรลุธรรมในชาตินี้ คือ ไม่สามารถบำเพ็ญฌานวิปัสสนา มรรค หรือผลให้บังเกิดได้

องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๓๘๐

คำอธิบาย “ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว”

ลำดับนั้นพระพุทธองค์ทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า เมื่อได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ย่อมแสดงธรรมโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวง และทรงพิจารณาต่อไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณว่า จะมีผู้ใดเข้าถึงพระธรรมคุณที่ตรัสรู้ได้บ้างหรือไม่ ทรงเห็นว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางจำพวกสอนได้ บางจำพวกสอนไม่ได้

พระพุทธองค์ได้ทรงตรึกตรอง ทรงคำนึงว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จึงยังทรงมิได้รับคำทูลอารธนาทีเดียว แต่ได้ทรงพิจารณาโดยพระญาณก่อนว่า เวไนยสัตว์ นั้นจำแนกเหล่าที่จะรองรับพระสัทธรรมได้เพียงใด จำนวนเท่าใด ทรงจำแนกด้วยพระญาณว่าเหล่าเวไนยสัตว์บุคคลที่จะรับพระสัทธรรมได้และไม่ได้มีอยู่ 4 จำพวก เปรียบได้ดังดอกบัวสี่เหล่า อันหมายถึง ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย ที่สร้างสมมาแต่อดีตของบุคคล ซึ่งบัว 4 เหล่านั้น คือ

  1. บัวประเภทที่ 1 ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว รอแสงพระอาทิตย์จะบานวันนี้
  2. บัวประเภทที่ 2 ดอกบัวที่ปริ่มน้ำ จะบานวันพรุ่งนี้
  3. บัวประเภทที่ 3 ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ยังอีก 3 วันจึงจะบาน
  4. บัวประเภทที่ 4 ดอกบัวที่เพิ่งงอกใหม่จากเหง้าในน้ำ จะยังไม่พ้นภัยจากเต่าและปลา

พระไตรปิฎก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีกฎอยู่ในโลก 4 จำพวกเป็นไฉน คือ อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง 1 วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น 1 เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ 1 ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๓๓/๑๘๓

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post