Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

16. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)

พระสงฆ์
ไม่มี

16. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)

๑๖

16. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)

  1. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)

วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร

พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2514

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ดำรงพระยศ พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2514

สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2508

สถิต วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร

นิกาย ธรรมยุตนิกาย

ประสูติ 16 มกราคม พ.ศ. 2440

สิ้นพระชนม์ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514

พระชนมายุ 74 พรรษา

 

ชาติกาลและชาติภูมิ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) ประสูติ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2440 ตรงกับวันอาทิตย์แรม 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา นพศก จุลศักราช 1259 (ร.ศ. 116) ที่บ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี.ท่านบิดาชื่อ “หงส์ ศิริสม” เป็นชาวโพธาราม  ท่านมารดา ชื่อ “จีน” นามสกุลเดิมว่า “ประเสริฐศิลป์” 

 

อุปสมบท

พระชนม์ 21 พรรษา ทรงอุปสมบทเป็นภิกษุ มีพระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย ป. 7) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระราชกวี (แจ่ม จตฺตสลฺโล ป.7) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ที่พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2460 และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อพรรษาที่ 13  พ.ศ. 2472

 

ทรงมีพระกรณียกิจด้านการศึกษา โดยเป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ ณ โรงเรียนบาลีในสำนักเรียนวัด  พรรษาที่ 5 เลื่อนขึ้นเป็นครูสอนธัมมปทัฎฐกถา  พรรษาที่ 7 เลื่อนขึ้นเป็นครูสอนมังคลัตถทีปนี (หลักสูตรบาลีประโยค 4    ได้ตรวจชำระพระไตรปิฎกบางปกรณ์ คือ อปทาน เถรคาถา เถรีคาถา พุทฺธวํส จริยาปิฎก และคัมภีร์มิลินทปัญหา ในเบื้องต้น  สอบทานอักษรไทยกับต้นฉบับอักษรขอม  เสด็จไปร่วมประชุมสังคายนาที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2504  พรรษาที่ 10 เลื่อนขึ้นเป็นครูสอนตติยสมันตปาสาทิกา (หลักสูตรบาลี ประโยค 5) พรรษาที่ 11 เป็นกรรมการตรวจบาลีไวยากรณ์ในสนามหลวง พรรษาที่ 12 เป็นกรรมการตรวจนักธรรมชั้นโท-เอก พรรษาที่ 16 เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบาลี แห่งสำนักเรียนวัดมกกุฎกษัตริยาราม 

เมื่อครั้งสมเด็จ ฯ ยังเป็นเปรียญ ได้ร่วมกับมิตรสหายตั้ง “พุทธมามกสมาคม” โดยมีวัตถุที่ประสงค์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษา และบำรุงสัมมาปฏิบัติ  แต่ต่อมา  ถูกรัฐบาลในเวลานั้น ขอให้มหาเถรสมาคม ห้ามไม่ให้ภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับสมาคมนี้ สมาคมจึงต้องหยุดกิจการและเลิกล้มไปในที่สุด  นอกจากนี้สมเด็จฯ ได้เป็นหัวหน้ากองเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหามกุฏราชวิทยาลัย และได้เป็น

สังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ (พระพุทธศาสนา) ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484  พรรษาที่ 18 พระองค์เป็นกรรมการตรวจบาลีประโยค 7-8-9 แห่งสนามหลวง พ.ศ. 2477 พรรษาที่ 18 เป็นกรรมการตรวจบาลีประโยค 7-8-9 แห่งสนามหลวง ตลอดถึง พ.ศ. 2508

 

สมเด็จฯ ทรงเป็นอนุกรรมการดูแลกิจการมหามกุฏราชวิทยาลัยหลายอย่างเช่น การตรวจชำระแบบเรียน การวางระเบียบการอบรมพระปริยัติธรรม การตรวจเลือกพระสูตรที่จะแปลลงในหนังสือธรรมจักษุ  และเป็นทั้งประธาน  และเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต  สมเด็จฯ ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์มาเรื่อยๆ จนกระทั่งพรรษาที่ 49 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ปี พ.ศ. 2508 

 

งานแปลและพระนิพนธ์

 

สมเด็จฯ ทรงแปลตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย เพื่อให้นักเรียนคัดลอกไปเป็นตำรา   ทรงนิพนธ์เรื่องใหญ่บ้างเล็กบ้าง มากกว่า 100 เรื่องเช่น มงคลในพระพุทธศาสนา สาระในตัวคน เป็นต้น ทรงเขียนพระธรรมเทศนา  มงคลวิเสสกถา ที่แสดงในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา  นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหลักสูตรการศึกษาของภิกษุสามเณรขึ้นใหม่ เป็นโรงเรียนเอกเทศ เรียกว่าโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ โดยผนวกความรู้นักธรรม-บาลี และวิชาสามัญเข้าด้วยกัน

 

อวสานกาลแห่งพระชนม์ชีพ

 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) สิ้นพระชนม์โดยอุบัติเหตุ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เวลา 10.05 น. ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 6 ปี 1 เดือน คำนวณพระชนมายุเต็ม ได้ 74 พรรษา 11 เดือน 2 วัน

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post