Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

10. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)

พระสงฆ์
ไม่มี

10. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)

๑๐

10. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)

  1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2464       

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ดำรงพระยศ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2464

สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2453   ณ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

สถิต วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

นิกาย ธรรมยุตนิกาย

ประสูติ 12 เมษายน พ.ศ. 2403

สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2464

พระชนมายุ 60 พรรษา

 

พระประวัติเบื้องต้น

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 แรม 7ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1221 ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2403   ครั้นพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2422 สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี) วัดมกุฎกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จมาอยู่จำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศ  ทรงทำทัฬหีกรรม อุปสมบทซ้ำ หลังจากทรงจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร 1 พรรษาแล้ว ได้เสด็จไปจำพรรษาที่ 2  ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม  ในระหว่างที่ประทับ ณ วัดมกุฎกษัตริยารามนั้นเอง ได้ทรงทำทัฬหีกรรม อุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตามธรรมเนียมนิยม ของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้น โดยพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมไตรโลกาจารย์(เดช ฐานจาโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์  

 

หลักสูตรการศึกษา “นักธรรม”

เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มพัฒนากิจการพระศาสนา โดยทรงเริ่มทำขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดหลักสูตรการศึกษา สำหรับคณะสงฆ์ในเวลาต่อมา ที่เรียกว่า “นักธรรม” ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของคณะสงฆ์สืบมาจนปัจจุบัน เป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาไทย คู่กับการศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาบาลี ที่มีมาแต่โบราณ 

 

ทรงจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย นิตยสารธรรมจักษุ

ทรงจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย สำหรับเป็นสถานศึกษา ของภิกษุสามเณรและกุลบุตร และพระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนภาษาไทย ของมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นตามวัดธรรมยุต เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนของกุลบุตร โดยใช้หลักสูตรที่  เรียกว่า “หลักสูตรมหามกุฎ” เช่น โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โรงเรียนวัดมกุฎ เป็นต้น ทรงจัดตั้งโรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย   ทรงออกนิตยสารธรรมจักษุ ซึ่งเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนา ฉบับแรกของไทย และมีอายุเก่าแก่ที่สุด นับถึงปัจจุบันก็กว่า 100 ปีแล้ว ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์  เกิดพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์  ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ขึ้น ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย

 

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสถาปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จกรมพระยา ทรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระมหาสมณะ (คือ สมเด็จพระสังฆราช) เมื่อ พ.ศ. 2453 

 

ผลงานพระนิพนธ์

ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นอันมาก เช่น หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีโท เอก ทั้งหมดหลักสูตรบาลีไวยากรณ์ทั้งชุด ทรงชำระคัมภีร์บาลีไว้อีกกว่า 20 คัมภีร์  เรื่องคดีธรรม หรือคดีโลก ล้วนเป็นเรื่องที่ทันสมัย ทรงเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ของไทย  ทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษา ระดับประถมศึกษาแล้ว ยังทรงพระดำริที่จะพัฒนาการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น  ในด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ที่เรียกว่า การศึกษาปริยัติธรรมนั้น ก็ทรงมีแนวพระดำริว่าภิกษุสามเณร ควรจะมีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม   ได้เป็นรากฐานให้แก่การจัดตั้งสถาบัน การศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์ในเวลาต่อมา 

 

พระกรณียกิจพิเศษ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ของพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  ขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ 

 

สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงประชวรวัณ  สิ้นพระชนม์ ปี พ.ศ. 2464 สิริรวมพระชนมายุได้ 60 พรรษา 3 เดือนเศษ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร 30 ปี ทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช 10 ปีกับ 7 เดือนเศษ 

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post