ปฏิจจสมุปบาท - ทุกขสมุทัย : กระบวนการ (ห่วงโซ่) ที่ทำให้เกิดทุกข์
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์คือ ตัณหา และอุปาทาน
ตัณหา : เป็นความอยากมีอยากเป็น อยากไม่มี อยากไม่เป็น (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ไม่ได้สมความอยาก (ความต้องการ) ก็ทกุข์ ได้สมความอยาก แต่ไม่รู้จักพอ (โลภ) ก็ทุกข์ สูญเสียสิ่งที่รักก็ทุกข์ ฯลฯ
อุปาทาน : เป็นความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ (กามุปาทาน ทิฎฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน)
โดยอุปาทานยึดกับขันธ์ 5 เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5 ซึ่งนำความทุกข์มาให้แก่เจ้าของขันธ์ 5 ทั้งนี้เพราะทุกสิ่งที่ถูกยึดมั่นถือมั่น เข้ากฎพระไตรลักษณ์ทั้งหมด คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเฉพาะขันธ์ 5 ก็เป็นไตรลักษณ์ ดังนั้นไม่ว่าอะไรก็ตามที่ไปยึดติดกับขันธ์ 5 ก็ล้วนแต่เป็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ตัณหา และอุปาทาน จึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์
ชีวิตเป็นอย่างไร? : ปฏิจจสมุปบาท (กระบวนการเกิดและการดับทุกข์)(2)
พุทธพจน์ กล่าวไว้ว่า :
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม
ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมที่สำคัญมากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ เพราะเป็นกระบวน (ห่วงโซ่) การเกิดความทุกข์และการดับทุกข์ของมนุษย์
ห่วงโซ่ของเหตุปัจจัยของการเกิดความทุกข์ของมนุษย์เริ่มต้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ ไม่เข้าใจ เกี่ยวกับ (1) อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค), (2) ความไม่รู้ในขันธ์ 5 ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต, (3) ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท) จนกระทั่งชรามรณะ
ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ก็ต้องพบกับความทุกข์ ถึงแม้จะเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหมก็มีความทุกข์ เพียงแต่มีความสุขมากกว่าทุกข์เท่านั้นเอง
ทุกห่วงโซ่ของ “ปฏิจจสมุปบาท” นำมาซึ่งความทุกข์ ห่วงโซ่ที่นำมาซึ่งความทุกข์ที่มักจะกล่าวถึงกันบ่อย
หลักทั่วไป
ก. อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ข. อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)
พิจารณาตามรูปพยัญชนะ หลักทั่วไปนี้ เข้ากับชื่อที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา
ปฏิจจสมุปบาท : ทุกขสมุทัย (กระบวนการเกิดทุกข์) (2)
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
.............................................................................................................................................
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ ด้วยประการฉะนี้
หัวข้อและโครงรูป
ลำดับขั้นตอนการเกิดความทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นดังนี้
อวิชชา 🡪 สังขาร 🡪 วิญญาณ 🡪 นามรูป 🡪 สฬายตนะ 🡪 ผัสสะ 🡪 เวทนา 🡪 ตัณหา 🡪 อุปาทาน 🡪 ภพ 🡪 ชาติ 🡪 ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทนัส อุปายาส = ทุกขสมุทัย
อนึ่ง โดยที่กระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนเป็นวัฎฎะ หรือวงจร ไม่มีดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย จึงควรเขียนเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในแง่นี้ ดังนี้ (2)
คำจำกัดความองค์ประกอบ หรือหัวข้อ ตามลำดับ (2)
ก่อนแสดงคำจำกัดความและความหมายตามแบบ จะให้คำแปลและความหมายง่ายๆ ตามรูปศัพท์ เป็นพื้นฐานความเข้าใจไว้ชั้นหนึ่งก่อน ดังนี้
ต่อไปนี้ คือ คำจำกัดความองค์ประกอบ หรือหัวข้อทั้ง 12 ตามแบบ (2)
ความไม่รู้หนก่อน – หนหน้า – ทั้งหนก่อนหนหน้า – ปฏิจจสมุปบาท
และ (ตามนัยอภิธรรม) ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) + รูป (มหาภูต 4 และรูปที่อาศัยมหาภูต 4)
(เวทนา 6)
โผฏฐัพพตัณหา (ในสัมผัสทางกาย) ธัมมตัณหา (ในธรรมารมณ์) (ตัณหา 6)
ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ คือ ความเห็น ข้อยึดถือ ลัทธิ ทฤษฎี ต่างๆ)
สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต ว่าจะทำให้คนบริสุทธิ์ได้)
อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตา สร้างตัวตนขึ้นยึดถือไว้ด้วยความหลงผิด)
= กรรมภพ (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร)
กับ อุปปัตติภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภพ
เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ)
หรือความเกิด ความปรากฏขึ้นของธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ
มรณะ (ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์) หรือ
ความเสื่อมและความสลายแห่งธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ
พุทธพจน์เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท (2)
ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองข้างนั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆ ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ”
“ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่าสุขทุกข์เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น) อาศัยอะไร? อาศัยผัสสะ”
“เมื่อกายมีอยู่ อาศัยความจงใจทางกายเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้ เมื่อวาจามีอยู่ อาศัยความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้ เมื่อมโนมีอยู่ อาศัยมโนสัญเจตนาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้”
“เพราะอวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่งกายสังขารขึ้นเอง เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง เนื่องจากผู้อื่น (ถูกคนอื่นหรือตัวการอื่นๆ กระตุ้นหรือชักจูง) จึงปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง รู้ตัวอยู่ จึงปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง ไม่รู้ตัวอยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง จึงปรุงแต่งวจีสังขาร...มโนสังขารขึ้นเองบ้าง...เนื่องจากผู้อื่นบ้าง...โดยรู้ตัวบ้าง...โดยไม่รู้ตัวบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายใน ในกรณีเหล่านี้ อวิชชาเข้าแทรกอยู่แล้ว(ทั้งนั้น)”
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท) เหล่านี้ ชัดเจนตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาแล้วเมื่อนั้น การที่อริยสาวกนั้นจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างต้นว่า “ในอดีต เราได้เคยมีหรือไม่หนอ? ในอดีต เราได้เป็นอะไรหนอ? ในอดีต เราได้เป็นอย่างไรหนอ? ในอดีต เราเป็นอะไรแล้วจึงได้มาเป็นอะไรหนอ?” หรือจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างปลายว่า “ในอนาคต เราจักมีหรือไม่หนอ? ในอนาคต เราจักเป็นอะไรหนอ? ในอนาคต เราจักเป็นอย่างไรหนอ? ในอนาคต เราเป็นอะไรแล้วจักได้เป็นอะไรหนอ?” หรือแม้แต่จะเป็นผู้มีความสงสัยกาลปัจจุบันเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า “เรามีอยู่หรือไม่หนอ? เราคืออะไรหนอ? เราเป็นอย่างไรหนอ? สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักไป ณ ที่ไหนอีก?” ดังนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร? ก็เพราะว่า อริยสาวกได้เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรมเหล่านี้ ชัดเจนแล้วตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา”
เหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์
ก็คือ ตัณหา และอุปาทาน ทั้งนี้เพราะ ตัณหาคือ ความอยากทุกชนิดเป็นกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) สำหรับอุปาทานก็ต้องการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตัวเอง อยากเป็นเจ้าของไม่อยากปล่อยวาง
ทั้งตัณหา และอุปาทาน ทำให้ทุกข์ เมื่อไม่ได้สมหวัง หรือสูญเสียสิ่งที่รักและทำให้ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิด เพราะทั้งห่วง หวง ยึดติด ไม่ยอมปล่อยวาง ทำให้เกิดทุกข์ข้ามภพข้ามชาติ จึงทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด (ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า “ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้”)
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250