Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

สัจฉิกาตัพพธรรม

สัจฉิกาตัพพธรรม

ธรรมอันพึงประจักษ์แจ้ง, สิ่งที่ควรได้ควรถึงหรือควรบรรลุ

 

ค. สัจฉิกาตัพพธรรม = ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๓ คือ สัจฉิกิริยา (ธรรมอันพึงประจักษ์แจ้ง, สิ่งที่ควรได้ควรถึงหรือควรบรรลุ ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ เมื่อกล่าวโดยรวบยอดคือ นิโรธ หรือนิพพาน หมายถึงธรรมจำพวกที่เป็นจุดหมาย หรือเป็นที่ดับหายสิ้นไปแห่งทุกข์หรือปัญหา — Sacchikàtabba-dhamma: things to be realized, i.e. true knowledge and freedom or liberation)

 

นิพพาน ๒

วิมุตติ ๒

สุข ๒

สุข ๒

อัตถะ ๓

อัตถะ ๓

มรรค ๔

ผล ๔

โลกุตตรธรรม ๙

 

นิพพาน ๒ (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุข

สูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ — Nibbàna: Nirvàõa; Nibbàna)

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ — Saupàdisesa-nibbàna: Nibbàna with the substratum of life remaining)

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ — Anupàdisesa-nibbàna: Nibbàna without any substratum of life remaining)

หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า

๑. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ (= กิเลสปรินิพพาน — Kilesa-parinibbàna: extinction of the defilements)

๒. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ (= ขันธปรินิพพาน — Khandha-parinibbàna: extinction of the Aggregates) หรือ

๑. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่

๒. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

It.๓๘. ขุ.อิติ.๒๕/๒๒๒/๒๕๘.

อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า

๑. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ

๒. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

A.IV.๓๗๙. องฺ.นวก.๒๓/๒๑๖/๓๙๔.

 

[๔๓] วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น — Vimutti: deliverance; liberation; freedom)

๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ — Cetovimutti: deliverance of mind; liberation by concentration)

๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง — Pa¤¤àvimutti: deliverance through insight; liberation through wisdom)

A.I.๖๐. องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๖/๗๘.

 

สุข ๒ (ความสุข — Sukha: pleasure; happiness)

๑. กายิกสุข (สุขทางกาย — Kàyika-sukha: bodily happiness)

๒. เจตสิกสุข (สุขทางใจ — Cetasika-sukha: mental happiness)

A.I.๘๐. องฺ.ทุก.๒๐/๓๑๕/๑๐๑.

 

สุข ๒ (ความสุข — Sukha: pleasure; happiness)

๑. สามิสสุข (สุขอิงอามิส, สุขอาศัยเหยื่อล่อ, สุขจากวัตถุคือกามคุณ — Sàmisa-sukha: carnal or sensual happiness)

๒. นิรามิสสุข (สุขไม่อิงอามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ, สุขปลอดโปร่งเพราะใจสงบหรือได้รู้แจ้งตามเป็นจริง — Niràmisa-sukha: happiness independent of material things or sensual desires; spiritual happiness)

A.I.๘๐. องฺ.ทุก.๒๐/๓๑๓/๑๐๑.

 

อัตถะ หรือ อรรถ ๓ (ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย, ความหมาย — Attha: benefit; advantage; welfare; aim; goal; meaning)

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้, ประโยชน์ขั้นต้น — Diññhadhammikattha: benefits obtainable here and now; the good to be won in this life; temporal welfare)

๒. สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป — Samparàyikattha: the good to be won in the life to come; spiritual welfare)

๓. ปรมัตถะ (ประโยชน์สูงสุด, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน — Paramattha: the highest good; final goal, i.e. Nibbàna)

อัตถะ ๓ หมวดนี้ ในพระสูตรทั่วไปมักแสดงเฉพาะข้อ ๑ และข้อ ๒ โดยให้ข้อ ๒ มีความหมายครอบคลุมถึงข้อ ๓ ด้วย (เช่น ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๑/๒๔๒; อธิบายใน อิติ.อ.๙๒) บางแห่งก็กล่าวถึงปรมัตถะไว้ต่างหากโดยเฉพาะ (เช่น ขุ.สุ.๒๕/๒๙๖/๓๓๘; ๓๑๓/๓๖๖; ขุ.อป.๓๓/๑๖๕/๓๔๓) 

ดู [๑๔๔] ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔, [๑๙๑] สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ ด้วย.

Nd๑๑๖๙, ๑๗๘, ๓๕๗; Nd๒๒๖. ขุ.ม.๒๙/๒๙๒/๒๐๕; ๓๒๐/๒๑๗; ๗๒๗/๔๓๒; ขุ.จู.๓๐/๖๗๓/๓๓๓.

 

อัตถะ หรือ อรรถ ๓ (ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย — Attha: benefit; advantage; gain; welfare)

๑. อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน — Attattha: gain for oneself; one’s own welfare)

๒. ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น — Parattha: gain for others; others’ welfare)

๓. อุภยัตถะ (ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย — Ubhayattha: gain both for oneself and for others; welfare both of oneself and of all others)

S.II.๒๙; S.V.๑๒๑–๕; A.I.๙; A.III.๖๔; Nd๑๑๖๘; Nd๒๒๖. สํ.นิ.

๑๖/๖๗/๓๕; สํ.ม.๑๙/๖๐๓/๑๖๗; องฺ.ทุก.๒๐/๔๖/๑๐; องฺ.ปญฺจก.๒๒/๕๑/๗๒

 

มรรค ๔ (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด — Magga: the path)

๑. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส — Sotàpattimagga: the Path of Stream-Entry)

๒. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง — Sakadàgàmi-magga: the Path of Once-Returning)

๓. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ — Anàgàmi-magga: the Path of Non-Returning)

๔. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ — Arahatta-magga: the Path of Arahantship)

ดู [๓๒๙] สังโยชน์ ๑๐๑.

Vbh.๓๓๕. อภิ.วิ.๓๕/๘๓๗/๔๕๓.

 

ผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ — Phala: fruition) 

๑. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย — Sotàpatti-phala: the Fruition of Stream-Entry)

๒. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย — Sakadàgàmi-phala: the Fruition of Once-Returning)

๓. อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย — Anàgàmi-phala: the Fruition of Non- Returning)

๔. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย — Arahatta-phala: the Fruition of Arahantship)

ผล ๔ นี้ บางที่เรียกว่า สามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม — Sàma¤¤a-phala: fruits of a monk’s life; fruits of the monkhood)

D.III.๒๒๗; Vbh.๓๓๕. ที.ปา.๑๑/๒๔๒/๒๔๐; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๗/๔๕๓.

 

โลกุตตรธรรม ๙ (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก — Lokuttaradhamma: supermundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ = ๔๖: ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๒๐/๕๓๕; Ps.II.๑๖๖)

มรรค ๔ (Magga: the Four Paths)

ผล ๔ (Phala: the Four Fruitions)

นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ ๑ (Nibbàna: the Unconditioned State)

ดู [๒๗] นิพพาน ๒; [๑๖๔] มรรค ๔; [๑๖๕] ผล ๔.

Dhs.๑๐๙๔. อภิ.สํ.๓๔/๗๐๖/๒๗๘; ๙๑๑/๓๕๕.

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post