สารบัญเสาธรรมะ
ธรรมที่เป็นหลักการสำคัญ จัดสงเคราะห์ในอริยสัจ ๔
และธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ธรรมที่เป็นหลักการสำคัญ จัดสงเคราะห์ในอริยสัจ ๔
ก. ปริญไญยธรรม
ไตรลักษณ์
ทุกขตา ๓
ธรรมนิยาม ๓
ธาตุ ๖
ขันธ์ ๕
นิยาม ๕
อายตนะ ๑๒
ข. ปหาตัพพธรรม
กรรม ๓
ตัณหา ๓
ปปัญจะธรรม ๓
อกุศลมูล ๓
อาสวะ ๓
อาสวะ ๔
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
ปัจจัย ๒๔
ค. สัจฉิกาตัพพธรรม
นิพพาน ๒
วิมุตติ ๒
สุข ๒๑
สุข ๒๒
อัตถะ ๓๑
อัตถะ ๓๒
มรรค ๔
ผล ๔
โลกุตตรธรรม ๙
ง. ภาเวตัพพธรรม
ปัจจัยแห่งสัมมาทิฎฐิ ๒
บุพนิมิตแห่งมรรค ๗
พุทธโอวาท ๓
ไตรสิกขา, สิกขา ๓
บุญกิริยาวัตถุ ๓
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
ภาวนา ๒
ภาวนา ๔
มรรคมีองค์ ๘
กุศลกรรมบท ๑๐๑
กุศลกรรมบท ๑๐๒
โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ธรรมที่เป็นหลักการสำคัญ จัดสงเคราะห์ในอริยสัจ ๔
ก. ปริญไญยธรรม
ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๑ คือ ปริญญา (ธรรมอันพึงกำหนดรู้, สิ่งที่ควรรอบรู้ หรือรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ กล่าวคือ ทุกข์และสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในจำพวกที่เป็นปัญหาหรือเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา – Pariññyya-dhamma : things to be fully understood, i.e. the five aggregates of existence subject to clinging)
ข. ปหาตัพพธรรม
ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๒ คือ ปหานะ (ธรรมอันพึงละ, สิ่งที่จะต้องแก้ไขกำจัดทำให้หมดไป ว่าโดยต้นตอรากเหง้า ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา กล่าวคือธรรมจำพวกสมุทัยที่ก่อให้เกิดปัญหาเป็นสาเหตุของ ทุกข์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า อกุศลทั้งปวง – Pahãtabba-dhamma: things to be abandoned, i.e. ignorance and craving for being)
ค. สัจฉิกาตัพพธรรม
ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๓ คือ สัจฉิกิริยา (ธรรมอันพึงประจักษ์แจ้ง, สิ่งที่ควรได้ควรถึงหรือควรบรรลุ ได้แก่ วิชชาและวิมุตติ เมื่อกล่าว โดยรวบยอดคือ นิโรธ หรือนิพพาน หมายถึงธรรมจำพวกที่เป็นจุดหมาย หรือเป็นที่ดับหายสิ้นไปแห่งทุกข์หรือปัญหา – Sacchikãtabba- dhamma : things to be realized, i.e. true knowledge and freedom or liberation)
ง. ภาเวตัพพธรรม
ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือ ภาวนา (ธรรมอันพึงเจริญ หรือพึงปฏิบัติบำเพ็ญ, สิ่งที่จะต้องปฏิบัติ หรือลงมือทำ ได้แก่ ธรรมที่เป็น มรรค โดยเฉพาะสมถะและวิปัสสนา กล่าวคือ ประดาธรรมที่เป็นข้อ ปฏิบัติหรือเป็นวิธีการที่จะทำหรือดำเนินการ เพื่อให้บรรลุจุดหมายแห่ง การสลายทุกข์หรือดับปัญหา – Bhãvetabba-dhamma: things to be developed, i.e. tranquillity and insight, or, in other words, the Noble Eightfold Path)
M.III.๒๘๙; S.V.๕๒; A.II.๒๔๖. ม.อุ.๑๔/๘๒๙/๕๒๔; สํ.ม.๑๙/๒๙๑–๕/๗๘;องฺ.จตุกฺก.๒๑/๒๕๔/๓๓๓.
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250