สมาธิเป็นเพียงบันไดขั้นต้น ขณะที่วิปัสสนาภาวนาเป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมี
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า
“ผู้ใดแม้จะทำสมาธิ จนจิตเป็นฌาณได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นตามความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงช่วงขณะจิตเดียวก็ตาม”
“ผู้ใดมีปัญญา พิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่าร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหู้ขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนยาวถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความจริงดังกล่าว”
การเจริญสมถะ และวิปัสสนาอย่างง่ายๆ ประจำวัน
พระพุทธองค์ตรัสว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาประจำวัน จนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด
“จิตของผู้นั้น ไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ไม่ห่างจากมรรคผลนิพพาน” คือ
1 มีจิตใคร่ครวญถึง มรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน
คือ การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ การระลึกถึงความตายเป็นการเตือนสติตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง
พระพุทธองค์ตรัสว่า
“มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด”
มรณัสสติกรรมฐาน (สมถะภาวนา)
(พุทธิจริต)
พิจารณาสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
เป็นวิปัสสนาภาวนา
วันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสปัจฉิมโอวาท ที่เรียกกันว่า “อัปปมาทธรรม”
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตภาคตขอเตือนทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”
2.มีจิตใคร่ครวญถึง อสุภกรรมฐาน
3. มีจิตใคร่ครวญถึง กายคตานุสสติกรรมฐาน
กายคตานุสสติกรรมฐาน
พิจารณาร่างกาย ให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง พิจารณาร่วมกับ อสุภกรรมฐาน และ มรณัสสติกรรมฐาน
กายนี้เป็นบ่อเกิดของความโลภ ความโกรธ ความหลง เพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน
หลักในการพิจารณาเป็นดังนี้